วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บทที่2

โครงงานเรื่องข้าว

ข้าว (Rice)

ข้าว เป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าที่สามารถกินเมล็ดได้ ถือเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่นเดียวกับหญ้า ต้นข้าวมีลักษณะภายนอกบางอย่าง เช่น ใบ กาบใบ ลำต้น และรากคล้ายต้นหญ้า ในประเทศไทย ข้าวหอมมะลิมีสายพันธุ์ในประเทศและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก
ลักษณะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต
ลักษณะที่มีความสัมพันธุ์กับการเจริญเติบโตของต้นข้าว ได้แก่ ราก ลำต้น และใบ
  • ราก รากเป็นส่วนที่อยู่ใต้ผิวดิน ใช้ยึดลำต้นกับดินเพื่อไม่ให้ต้นล้ม แต่บางครั้งก็มีรากพิเศษเกิดขึ้นที่ข้อซึ่งอยู่เหนือพื้นดินด้วย ต้นข้าวไม่มีรากแก้ว แต่มีรากฝอยแตกแขนงกระจายแตกแขนงอยู่ใต้ผิวดิน
  • ลำต้น มีลักษณะเป็นโพรงตรงกลางและแบ่งออกเป็นปล้องๆ โดยมีข้อกั้นระหว่างปล้อง ความยาวของปล้องนั้นแตกต่างกัน จำนวนปล้องจะเท่ากับจำนวนใบของต้นข้าว ปกติมีประมาณ 20-25 ปล้อง
  • ใบ ต้นข้าวมีใบไว้สำหรับสังเคราะห์แสง เพื่อเปลี่ยนแร่ธาตุ อาหาร น้ำ และคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นแป้ง เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและ สร้างเมล็ดของต้นข้าว ใบประกอบด้วย กาบใบและแผ่นใบ





ชนิดของข้าว
ข้าวบาร์เลย์
ข้าวฟาง
ข้าวสาลี
ข้าวหอมมะลิ
ข้าวโอ๊ต
ข้าวบาร์เลย์
ข้าวบาร์เลย์เป็นธัญพืชเก่าแก่ของมนุษย์ มีถิ่นกำเนิดในแถบซีเรียและอิรัก ซึ่งเชื่อว่าเป็นบริเวณที่มีการเพาะปลูกเป็นแห่งแรก ชาวกรีกและโรมันโบราณนำข้าวบาร์เลย์มาทำขนมปังและเค้กเมื่อกว่า 2,000 ปีมาแล้ว ต่อมาผู้คนหันไปนิยมรสชาติของข้าวสาลีมากกว่าในปัจจุบันข้าวบาร์เลย์ใช้มากในการผลิตมอลท์สำหรับอุตสาหกรรมเบียร์และวิสกี้ นอกจากนี้ยังมีการใช้ข้าวบาร์เลย์เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ธัญชาติอบกรอบ และขนมอบด้วยข้าวบาร์เลย์เป็นพืชในวงศ์เดียวกับไผ่ (ดูไผ่ตง) ตะไคร้ หญ้าและธัญพืช เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี และข้าว

                      ชื่อไทย
ข้าวบาร์เลย์
                    ชื่อสามัญ
Barley
                    ชื่อพฤกษศาสตร์
Hordeum vulgare L.
                    ชื่อวงศ์
POACEAE
            แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์
ไซเรียและอิรัก

 

การใช้ประโยชน์
ข้าวบาร์เลย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายลักษณะกว่า 50% ของข้าวบาร์เลย์ที่ผลิตได้ทั่วโลก ถูกนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์รูปต่าง ๆ ประมาณ 30% ของข้าวบาร์เลย์ที่ผลิตได้ ถูกนำไปแปรรูปเป็นมอลท์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ ผลิตภัณฑ์แอลกอฮอล์ประเภทกลั่นและอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อื่น ๆ นอกจากนี้ข้าวบาร์เลย์ยังนำไปใช้แปรรูปเป็นอาหารมนุษย์ได้เป็นอย่างดี
มอลท์

มอลท์ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอาเมล็ดธัญพืชไปเพาะให้งอก ภายใต้สภาพที่ควบคุมในช่วงระยะหนึ่งเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแป้งที่สะสมภายในเมล็ดธัญพืชนั้นเป็นน้ำตาล โดยอาศัยน้ำย่อยที่สร้างขึ้นภายในเมล็ด จากนั้นจึงนำไปอบให้แห้ง (
kilning ) โดยส่วนที่เป็นเศษรากฝอย ( dried rootlets ) ถูกแยกออกไปผลิตภัณฑ์ที่ได้จากขบวนการดังกล่าว เรียกว่า มอลท์

เมล็ดธัญพืชที่สามารถนำไปทำมอลท์ ได้แก่ ข้าวบาร์เลย์ ข้าวสาลี ข้าวฟ่างและข้าวไรย์ แต่ที่นิยมมากที่สุดคือมอลท์ที่ได้จากข้าวบาร์เลย์
นอกเหนือจากการทำมอลท์หรือการมอลท์ทำเป็นอาหารสัตว์แล้วข้าวบาร์เลย์ยังเป็นอาหารสัตว์ได้ในรูปของเมล็ด หญ้าแห้ง หญ้าหมักและผลพลอยได้อื่นจากข้าวบาร์เลย์
1.เมล็ดข้าวบาร์เลย์ประกอบด้วยแป้งและน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ แต่มีโปรตีนและไขมันเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามเมล็ดข้าวบาร์เลย์ประกอบด้วยแต่ธาตุอาหาร วิตามินและสารอาหารที่จำเป็นแก่การเจริญเติบโตของสัตว์หลายชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้าวบาร์เลย์ชนิดโปรตีนสูง ดังนั้นเมล็ดข้าวบาร์เลย์จึงเหมาะแก่การใช้เป็นอาหารสัตว์ทั่วไป อย่างไรก็ตามแม้ว่าเมล็ดข้าวบาร์เลย์จะมีคุณหารสูงแต่เมล็ดข้าวบาร์เลย์ทั้งเมล็ดก็ให้พลังงานต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับข้าว ข้าวโพดและข้าวฟ่าง ดังนั้นเมล็ดข้าวบาร์เลย์จึงไม่เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงลูกสัตว์ขุน
2.หญ้าสดและหญ้าแห้ง ข้าวบาร์เลย์สามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ทั้งในรูปตัดให้สัตว์กินสด หรือให้แทะเล็มในแปลงปลูก เป็นลักษณะหญ้าสดและนำมาทำให้แห้งเป็นหญ้าแห้งเพื่อให้สามารถเก็บรักษาไว้ใช้ยามที่ต้องการได้ในกรณีให้สัตว์แทะเล็มต้นข้าวบาร์เลย์ในแปลงปลูกนั้นจะต้องมีการใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ต้นข้าวบาร์เลย์สามารถเจริญเติบโตขึ้นมาได้ทันกับการแทะเล็ม อย่างไรก็ตามควรต้องระวังอิทธิพลของไนโตรเจนในรูปของไนเตรทที่อาจมีผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ด้วย สำหรับในกรณีที่เป็นหญ้าแห้ง ระยะเวลาการตัดต้นข้าวบาร์เลย์เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะมีผลกระทบต่อคุณภาพของหญ้าแห้ง ระยะเวลาการตัดต้นข้าวบาร์เลย์เพื่อนำไปทำหญ้าแห้งจะตัดเมื่อข้าวบาร์เลย์มีการพัฒนาของช่อดอกและเป็นน้ำนมหรือเริ่มเป็นแป้งอ่อน เป็นระยะที่ต้นข้าวบาร์เลย์มีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่สุด ต้นข้าวบาร์เลย์ที่ตัดได้จะต้องทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว แล้วเคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวังให้เมล็ดและช่อข้าวบาร์เลย์หล่นและสูญเสียน้อยที่สุด การทำหญ้าที่ตัดแห้งอาจทำได้โดยการตากแดดทิ้งไว้ในแปลง ซึ่งวิธีนี้จะทำให้คุณภาพของหญ้าแห้งเปลี่ยนไปตามสภาพภูมิอากาศ
3.หญ้าหมัก หญ้าหมักที่ทำจากต้นข้าวบาร์เลย์นิยมใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับวัวควาย ข้าวบาร์เลย์ที่นำมาทำหญ้าหมักที่มีคุณภาพดีจะต้องเป็นข้าวบาร์เลย์ที่มีต้นไม่สูงมาก หญ้าหมักที่ดีจะให้คุณภาพเหมือนกับหญ้าสด และสามารถเก็บไว้ได้นานพอสมควร
4.ตอซังข้าวบาร์เลย์สามารถใช้ได้ดีสำหรับกับสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว ควาย เนื่องจากตอซังข้าวบาร์เลย์มีโปรตีนต่ำความสามารถในการย่อยสลายได้ของสัตว์ต่ำและให้พลังงานต่ำ ตอซังข้าวบาร์เลย์จึงเหมาะที่จะใช้ผสมในอาหารสัตว์ชนิดอื่น เพื่อลดอาการท้องอืดของสัตว์ นอกจากนี้การนำตอซังข้าวบาร์เลย์มาเป็นอาหารสัตว์ยังอาจเพิ่มคุณค่าทางอาหารได้โดยการผสมยูเรีย ซึ่งอาจทำได้โดยการผสมน้ำราดลงไปบนกองของตอซังหรือฉีดพ่นลงไป

ลักษณะทั่วไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชพวกหญ้า อายุหนึ่งปี ลำต้นมักมีขน ข้อตัน และมีปล้องกลวง 5-7 ปล้อง ใบ 5-10 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับเป็น 2 แถว กาบใบเกลี้ยง แผ่นใบรูปใบหอกแกมรูปแถบ เขี้ยวใบซ้อนทับกัน ช่อดอกออกที่ปลายยอด เป็นช่อเชิงลดทรงกระบอก แต่ละ ช่อดอกย่อยมีดอกเพียง 1 ดอก อยู่รวมเป็นกระจุกละ 3 ดอก เรียงสลับเป็น 2 แถว ผลแบบผลธัญพืช มี 20-60 ผลในแต่ละช่อ เมื่อมองด้านหน้าเป็นรูปรี ปลายมีขนและเป็นร่อง
ข้าวบาร์เลย์เป็นธัญพืชเก่าแก่ของมนุษย์ มีถิ่นกำเนิดในแถบซีเรียและอิรัก ซึ่งเชื่อว่าเป็นบริเวณที่มีการเพาะปลูกเป็นแห่งแรก ชาวกรีกและโรมันโบราณนำข้าวบาร์เลย์มาทำขนมปังและเค้กเมื่อกว่า 2
,000 ปีมาแล้ว ต่อมาผู้คนหันไปนิยมรสชาติของข้าวสาลีมากกว่าในปัจจุบันข้าวบาร์เลย์ใช้มากในการผลิตมอลท์สำหรับอุตสาหกรรมเบียร์และวิสกี้ นอกจากนี้ยังมีการใช้ข้าวบาร์เลย์เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ธัญชาติอบกรอบ และขนมอบด้วย
ข้าวบาร์เลย์เป็นพืชในวงศ์เดียวกับไผ่ (ดูไผ่ตง) ตะไคร้ หญ้าและธัญพืช เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี และข้าว

ตัวอย่างข้าวบาร์เลย์
ชื่อพันธุ์
สะเมิง 1 (Samerng 1)

ชนิด
ข้าวบาร์เลย์
ประวัติพันธุ์
เป็นข้าวบาร์เลย์ชนิด 6 แถว (Six-row Barley)
ที่ได้มาจากศูนย์ปรับปรุงข้าวโพดและ
ข้าวสาลีนานาชาติ (
CIMMYT) ชุด การทดสอบ IBON
หมายเลขสายพันธุ์ 118 จึง
เรียกว่า พันธุ์ไอบอน118 (
IBON
118) ปลูกครั้งแรกโดยนายวิฑูรย์ ขันธิกุล เจ้าหน้าที่
สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2517 ณ สถานีทดลองเกษตรที่สูงขุน
ช่างเคี่ยน ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และได้นำไปปลูกทดสอบในสถานี
ทดลองต่างๆ หลายแห่ง
การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 19
ตุลาคม 2526

ลักษณะประจำพันธุ์- เป็นข้าวบาร์เลย์ สูงประมาณ 70 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว 120 วัน
- ทรงกอตั้ง (มุมของใบจากพื้นดินมากกว่า 60 องศา) ใบและหูใบสีเขียวปานกลาง
- ขนาดเมล็ด กว้าง
x ยาว x หนา = 3.5 x 8.2 x 2.6 มิลลิเมตร สีน้ำตาลอ่อน เมล็ดรูปไข่ น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 36.5 กรัม เมล็ดติดเปลือก รวงมีหาง
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์
ผลผลิต
ประมาณ 270 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
- มีคุณภาพมอลท์เป็นที่ยอมรับในการผลิตเบียร์
- ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง
ข้อควรระวัง
- มีการเจริญเติบโตไม่ดีในสภาพอากาศร้อน
- ในสภาพพื้นที่ปลูกชื้นแฉะเกินไปจะเป็นโรคต้นกล้าเน่ามาก
- ไม่ต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคไหม้
พื้นที่แนะนำ
ใช้ปลูกในภาคเหนือ
ชื่อพันธุ์ สะเมิง 2 (Samerng 2)

ชนิด
ข้าวบาร์เลย์
ประวัติพันธุ์
เป็นข้าวบาร์เลย์ชนิด 6 แถว (Six-row Barley)
ได้จากศูนย์ปรับปรุงข้าวโพดและข้าว
สาลีนานาชาติ (
CIMMYT) ชุดทดสอบ International Barley Observation

Nursery (IBON) ชุดเดียวกับข้าวบาร์เลย์สะเมิง 1 หมายเลข สายพันธุ์ 42 จึงเรียกว่า
พันธุ์ไอบอน42 (
IBON
42) ปลูกครั้งแรกโดยนายวิฑูรย์ ขุนธิกุล เจ้าหน้าที่สถานีทดลอง
ข้าวสันป่าตอง เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2517 ณ สถานีทดลองเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน
ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งปลูกพร้อมกับข้าวบาร์เลย์สะเมิง 1 และนำไป
ปลูกทดสอบในสถานีทดลองต่าง ๆหลายแห่ง
การรับรองพันธุ์
คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์รับรองเมื่อวันที่ 19
ตุลาคม 2526

ลักษณะประจำพันธุ์- เป็นข้าวบาร์เลย์ สูงประมาณ 75 เซนติเมตร
- อายุเก็บเกี่ยว 125 วัน
- ใบและหูใบสีเขียวปานกลาง
- เมล็ดมีขนาดยาว 8.15 มิลลิเมตร สีน้ำตาลอ่อน เมล็ดรูปวงรี
- น้ำหนัก 1
,000 เมล็ด 33.6 กรัม รวงมีหางยาว
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์
ผลผลิต
ประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะเด่น
- มีคุณภาพมอลท์เป็นที่ยอมรับในการผลิตเบียร์
- ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง
ข้อควรระวัง

- สภาพอากาศร้อนจะเจริญเติบโตไม่ดี
- สภาพพื้นที่ชื้นแฉะเกินไปจะเป็นโรคต้นกล้าเน่ามาก
- ไม่ต้านทานต่อโรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคไหม้
พื้นที่แนะนำ
ใช้ปลูกในภาคเหนือ


วิธีการปลูก
การเตรียมดินปลูกข้าวบาร์เลย์
การเตรียมพื้นที่ เกษตรกรสามารถใช้รถไถเดินตามเตรียมพื้นที่เหมือนกับการปลูกข้าวทั่วไป โดยการไถดะ 2 ครั้งให้ลึกประมาณ 15
20 เซนติเมตร ตากแดดไว้ไม่น้อยกว่า 15 วัน แล้วจึงทำการไถแปรเพื่อย่อยดินและคราดเพื่อให้ดินละเอียดเหมาะสมต่อการงอกและการเจริญเติบโตของข้าวบาร์เลย์ จากนั้นจึงทำการชักร่องเพื่อทำการปลูกต่อไป
ในการเตรียมดินครั้งสุดท้ายนั้นให้หว่านปุ๋ยรองพื้นให้สม่ำเสมออัตราปุ๋ยที่ใส่นั้นขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปุ๋ยที่ใช้อาจจะเป็นปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยเคมีสูตร 15
1515 ปุ๋ยนาสูตร 16200 ก็ได้ถ้าเป็นปุ๋ยสูตร 151515 หรือ 1620
0
อัตราการใช้ปุ๋ยจำแนกได้ดังนี้

- ดินดีประมาณ 10
15 กิโลกรัมต่อไร่
- ดินดีปานกลางใส่ประมาณ 15
20 กิโลกรัมต่อไร่
- ดินเลวใส่ประมาณ 20
25 กิโลกรัมต่อไร่
การเขตกรรมเพื่อปลูกข้าวบาร์เลย์แปลงปลูกควรสะอาดใส่ปุ๋ยมูลสัตว์หรือปุ๋ยเคมีก่อนปลูก ควรจะปลูกโดยวิธีโรยเป็นแถวให้ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ใช้ระยะระหว่างแถวประมาณ 20 เซนติเมตร ซึ่งจะให้ผลดีกว่าวิธีหว่าน นอกจากนี้ควรมีความชื้นในดินขณะปลูกต้องพอเพียงสำหรับการงอกของเมล็ด อัตราของเมล็ดใช้ประมาณ 80 กิโลกรัมต่อเฮกแตร์ แต่ถ้าเป็นวิธีการหว่านอาจใช้ถึง 120 กิโลกรัมต่อเฮกแตร์
การปลูกข้าวบาร์เลย์ในสภาพที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดฤดูปลูก จะทำให้ข้าวบาร์เลย์มีขนาดเมล็ดสมบูรณ์ แต่โปรตีนในเมล็ดต่ำกว่าข้าวบาร์เลย์ที่ปลูกในพื้นที่ ๆ มีอากาศแปรปรวนและมีอุณหภูมิสูงในฤดูปลูก สำหรับความชื้นในดินถ้ามีปริมาณไม่เพียงพอในระยะออกรวงจะทำให้ขนาดของเมล็ดเล็กลง
การปลูกข้าวบาร์เลย์ก่อนปลูกควรคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีป้องกันเชื้อราคาร์บ๊อกซิน อัตรา 25 กรัมต่อเมล็ดข้าวบาร์เลย์ 10 กิโลกรัม
การให้น้ำให้พอชุ่มตั้งแต่ปลูกจนถึงระยะออกรวงอย่าให้ขาดน้ำ ข้าวบาร์เลย์เป็นพืชที่ต้องการน้ำเพียงเล็กน้อย หากปลูกในช่วงปลายฤดูฝนก็สามารถให้ผลผลิตได้โดยให้น้ำเพียง 200
400 มิลลิเมตรต่อฤดูปลูกเท่านั้น

วัชพืชข้าวบาร์เลย์
เนื่องจากการปลูกข้าวบาร์เลย์ทางภาคเหนือของไทยเกษตรกรมักกำจัดวัชพืชโดยการไถพรวนระหว่างร่องหรือใช้จอบถากแต่เป็นวีธีการที่ไม่ได้ผล จึงหันมากำจัดวัชพืชด้วยสารเคมีหลายชนิดได้แก่
Triallate เป็นสารเคมีประเภทก่อนงอกใช้ควบคุมวัชพืชใบแคบอายุฤดูเดียวเป็นส่วนใหญ่ ต้องมีการคลุกดินหลังจากฉีดยาไปที่ผิวดินแล้วจึงทำการปลูกข้าวบาร์เลย์อัตรา 180 270 กรัมต่อไร่Chlorsulfuron เป็นสารเคมีที่ใช้ก่อนงอกและหลังงอก ระยะแรกควบคุมวัชพืชใบกว้างเป็นส่วนใหญ่และใบแคบบางชนิดอัตราที่ใช้ 2.4 5.6 กรัมต่อไร่Diuron เป็นสารเคมีที่ใช้ประเภทก่อนงอก ควบคุมวัชพืชใบกว้างเป็นส่วนใหญ่และใบแคบบางชนิดอัตราที่ใช้ 80 240 กรัมต่อไร่Terbutryn เป็นสารเคมีที่ใช้ประเภทหลังงอกควบคุมวัชพืชใบกว้างเป็นส่วนใหญ่และใบแคบบางชนิด อัตราที่ใช้ 180 240 กรัมต่อไร่
2,4 – D เป็นสารเคมีที่ใช้ประเภทหลังงอก ควบคุมวัชพืชใบกว้างอย่างเดียว ไม่ควรใช้ในขณะที่ข้าวบาร์เลย์ยังไม่งอกเป็นต้นกล้าหรือระยะก่อนออกดอก เพราะจะทำให้เกิดอาการเป็นพิษ ไม่ควรฉีดสารเคมีขณะที่มีลมแรงหรือแดดร้อนจัด อัตราที่ใช้ 60 120 กรัมต่อไร่
แหล่งกำเนิด
ประวัติการปลูกข้าวบาร์เลย์ในประเทศ
ในอดีตสงครามโลกครั้งที่สอง ข้าวบาร์เลย์ถูกนำมาทดลองปลูกครั้งแรกในประเทศไทยที่สถานีโปร่งน้ำร้อน ตำบลหม่อนปิ่น อำเภอฝาง ซึ่งเป็นสถานีทดลองพืชสวนฝางปัจจุบัน ซึ่งเป็นสถานีทดลองพืชสวนฝางในปัจจุบัน เนื่องจากขาดความรู้ในเชิงหลักการใช้หลักวิชาการในการปลูกและยังไม่รู้จักนิสัยใจคอของข้าวบาร์เลย์ การปลูกจึงต้องหยุดชะงักลง
ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2503 ดร. ครุย บุณยสิงห์ ได้นำข้าวบาร์เลย์ตระกูล
IBON ชุดแรกมาทดลองปลูกในเมืองไทย โดยได้มอบเมล็ดชุดนี้แก่ คุณชีวัน ณรงค์ชวนะ สำนักงานไร่ยาสูบจังหวัดชียงราย ในระยะเริ่มแรก ข้าวบาร์เลย์เจริญเติบโตมีแนวโน้มว่าจะปลูกขึ้นได้ดีอาจจะเป็นเพราะอากาศในปีนั้นหนาวเย็นพอเพียงแก่ความต้องการของข้าวบาร์เลย์ ความอุดมสมบูรณ์สู.และอาจปลูกในระยะเวลาที่เหมาะสม แต่ต่อมาข้าวบาร์เลย์ชุดเดียวกันกลับให้ผลผลิตลดลง จึงทำให้การศึกษาข้าวบาร์เลย์หยุดชะงักอีกครั้งหนึ่ง
สันนิฐานว่าข้าวบาร์เลย์ยังไม่มีการปรับตัว หรือมีการปรับตัวค่อนข้างแคบ (
narrow rang adaptability) และไว(sensitive)
ต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินที่เป็นกรดซึ่งเป็นสาเหตุให้การทดลองข้าวบาร์เลย์หยุดชะงักอีกครั้งหนึ่ง เพระข้าวบาร์เลย์เป็นข้าวที่ปลูกค่อนข้าวยากถ้าเปรียบเทียบกับธัญพืชทุกชนิดที่มีอยู่ในปัจจุบัน เช่นน ข้าวสาลีอยู่ในตระกูลใกล้เคียงกัน และต่อมาในปี พ.ศ.2515-2516 ข้าวบาร์เลย์ถูกนำมาทดลองปลูกอีกครั้งหนึ่งที่สถานีทดลองพืชสวนฝาง กรมวิชาการ แต่ปรากฏว่าปลูกล่า ถูกโรคทำลายและไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
ในปี พ.ศ. 2527
MrRichard S. Mann Project manager ของโครงการ UNPDAC ได้เดินทางไปสถาบันวิจัยข้าวโพดและข้าวสาลีที่ (CIMMYT) ประเทศเม็กซิโก และได้นำเอาข้าวบาร์เลย์ IBON ชุดที่ 2 จำนวน สันพันธุ์ (Lines) สายพันธุ์ดีจากยุโรป จำนวน 4 สายพันธุ์ คือ Lara, Ketch, Klages, Clipper นำไปทดลองที่สถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน โดยจัดเข้าร่วมกับข้าวบาร์เลย์ชุด IBON
รวมทั้งหมดเป็นจำนวน 158 สายพันธุ์ ทำการทดลองในปีแรกส่งเมล็ดไปให้บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด จำนวนพันธุ์ ละ 50 กรัม คัดสายพันธุ์ได้ 41 สายพันธุ์ จึงทำการทดลองต่อและส่งตัวอย่างต่อไป
โดยส่งผลผลิตของแต่ละสายพันธุ์ สายพันธุ์ละ 500 กรัม ไปทดสอบคุณภาพ มอลต์ที่
Wiehenstaphan Brwing Technical University
มิวนิคประเทศเยอรมันตะวันตก ผลการทดสอบปรากฏว่าคงเหลือสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีและดีเลิศจำนวน 12 พันธุ์ ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์มอลต์ บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เป็นผู้เสียสละออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งสิ้น
สำหรับพันธุ์ที่กรมวิชาการรวบรวมจำนวน 4 พันธุ์ ก็ได้นำไปทดสอบที่ดอยอ่างขาง สถานีหลวงอ่างขางปัจจุบัน ได้ทำการทดลองศึกษาพันธุ์ในปี 2517 แต่ถูกวัวกินหมดไม่สามารถวัดผลได้ แต่จากการวัดผลที่ดอยช่างเคี่ยน พันธุ์ที่รวบรวมและนำมาจากทวีปยุโรปส่วนใหญ่เป็นพันธุ์สองแถวมีการปรับตัวไม่ดี จึงทำให้ผลผลิตต่ำกว่าชุด
IBON
จึงถูกตัดออกจากการทดลอง
เมล็ดพันธุ์ทั้ง 12 พันธุ์ ที่ได้ผลผลิตและคุณภาพเป็นที่พอใจแก่ทางบริษัทบุญรอดบริวเวอรรี่ จำกัด จึงได้มอบเมล็ดพันธุ์ส่วนหนึ่งให้แก่บริษัทเพื่อทำการศึกษาและขยายพันธุ์ต่อไป โดยนำพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ทั้งหมดไปทดลองที่ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2518
จะเห็นได้ว่าบาร์เลย์ถูกนำมาทดสอบได้ 3-4 ปี โดยปลูกครั้งแรกที่สูง (
high altitude) ที่สถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน สู.จากระดับน้ำระทะเลประมาณ 1,100 เมตร ที่ตำบลโป่งแยง สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 800 เมตร ปรากฏว่าบาร์เลย์ชุดเดียวกันนี้ยังให้ผลผลิตสม่ำเสมอ (Starbility)
แผนกค้นคว้าและวิจัยของบริษัทบูญรอดบริวเวอรี่ จำกัด จึงตัดสินใจครั้งสุดท้ายที่จะนำเอาข้าวบาร์เลย์ไปปลูกพื้นที่ราบ โดยนำไปปลูกในไร่ของบริษัทที่บ้านป่าสัน ตำบลท่าก้อ อำเภอแม่สลวย จังหวัดเชียงราย
การปลูกระยะแรกขาดแคลนน้ำเพราะสภาพพื้นที่ราบการระเหยของน้ำสูง ข้าวบาร์เลย์ก็สามารถยืนหยัดอยู่ได้แต่ผลผลิตค่อนข้างต่ำ จึงได้ปรับปรุงระบบการจัดส่งน้ำ และศึกษาการใช้น้ำ ในระยะต่อมาศึกษาวิธีการปลูก (
cultivation)
อย่างใกล้ชิด ปรากฏว่าข้าวบาร์เลย์ทั้งหมด 12 พันธุ์ เหลือที่อยู่รอดและให้ผลผลิตสูงในเกณฑ์ที่ใช้ได้ และมีคุณภาพดีในการทำมอลต์ จำนวนเพียง 5 พันธุ์
ในปี 2524 กรมวิชาการเกษตรได้พิจารณาพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ที่สถาบันวิจัยข้าวได้ทำการทดสอบพันธุ์ข้าวบาร์เลย์ควบคู่กับแผนกวิจัยและค้นคว้าบริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ปรากฏว่าข้าวบาร์เลย์จำนวน 2 พันธุ์ มีแนวโน้วที่จะทำการส่งเสริมได้ จึงได้รับรองพันธุ์ทั้งสองเป็นพันธุ์รับรองกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมีประวัติสายพันธุ์ดังต่อไปนี้
1.พันธุ์สะเมิง เลขประจำสายพันธุ์
IBON-42 สายพันธุ์ประวัติ Apam Dwarf 82-71 A-3B-1Y-1B-OY เมล็ดได้ขนาดมาตรฐานอ้วนเต่ง (plump seed) น้ำหนักเม็ด (test weight)
สูง คุณภาพมอลต์ดีอายุจากวันหยอดถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 95-105 วัน
2. พันธุ์สะเมิง 2 เลขประจำสายพันธุ์
IBON-42 สายพันธุ์ประวัติ Tequila “S” CMB 72-189-25Y-1B-OY เมล็ดได้ขนาดมาตรฐานอ้วนเต่ง น้ำหนักเมล็ด (test weight) สูง อยู่ในขั้นมาตรฐานคุณภาพมอลต์ดี อายุจากวันหยอดถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 98-110 วัน

ข้าวฟ่าง


เป็นพืชตระกูลหญ้าชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับข้าว ข้าวโพด ไม้ไผ่และหญ้าต่างๆ สภาพดินฟ้าอากาศในประเทศไทยเหมาะกับการปลูกข้าวฟ่างเกือบทุกภาค ยกเว้น ภาคใต้ แม้ดินจะแห้งแล้งและอากาศร้อนอย่างในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้าวฟ่างก็ขึ้นได้ ส่วนภาคเหนือและภาคกลางที่ฝนตกพอควร และดินอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรสามารถเพาะปลูกข้าวฟ่างได้ผลดีมาก
เกษตรกรปลูกข้าวฟ่างเป็นพืชรองหลังจากเก็บเกี่ยวพืชชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด เมื่อไถกลบซากพืชอื่น หรือตอซังข้าวโพดแล้ว เกษตรกรก็หว่านหรือโรยเมล็ดพันธุ์ข้าวฟ่างลงไป เมื่อต้นข้าวฟ่างเติบโต เกษตรกรต้องใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช พ่นสารเคมีกำจัดโรค เชื้อรา และแมลงที่มาทำลายต้น ใบ และช่อรวง ข้าวฟ่างบางชนิดเมื่อออกช่อออกเมล็ดเก็บเกี่ยวแล้วต้นก็ตาย แต่บางชนิดเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วตัดต้นทิ้งไว้ก็แตกหน่อเป็นต้นใหม่ ออกช่อรวงเก็บเกี่ยวผลิตผลได้อีกครั้งหนึ่ง


การใช้ประโยชน์จากข้าวฟ่าง

เมล็ดข้าวฟ่างเป็นอาหารที่สำคัญของมนุษย์ในหลายประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศในทวีปแอฟริกา ประเทศอินเดียและจีน มนุษย์อาจบริโภคข้าวฟ่างโดยตรงเป็นอาหารหลัก โดยหุงต้มคล้ายข้าว หรือบริโภคในรูปของผลิตภัณฑ์ทำจากแป้งข้าวฟ่าง นอกจากนี้ ยังใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ได้ดีอีกด้วย คนเริ่มนิยมใช้ข้าวฟ่างผสมเป็นอาหารสัตว์มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับข้าวโพด ข้อได้เปรียบของข้าวฟ่าง ก็คือ ราคาถูกกว่า แม้ว่าข้าวฟ่างจะมีไขมันน้อยกว่าข้าวโพดเล็กน้อย ทำให้ต้องใช้ข้าวฟ่างมากกว่าข้าวโพดในการที่จะให้ได้น้ำหนักเพิ่มเท่ากัน แต่เมื่อคิดต้นทุนกำไรแล้ว การใช้ข้าวฟ่างทำเป็นอาหารสัตว์ อาจจะได้กำไรมากกว่า โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวฟ่างที่ดีจะมีคุณค่าอาหารใกล้เคียงกับข้าวโพด
ต้นและใบของข้าวฟ่างบางชนิด ใช้ทำหญ้าแห้ง หญ้าหมัก หรือทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ได้เป็นอย่างดีเช่น หญ้าอัลมัม หญ้าซูแดกซ์ เป็นต้น
ข้าวฟ่างหวานหรือซอร์โก มีน้ำตาลในลำต้นมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยการหีบเอาน้ำหวานไปทำน้ำตาล ทำน้ำเชื่อม หรือนำไปหมักเพื่อผลิตแอลกอฮอล์
ข้าวฟ่างไม้กวาด ใช้ประโยชน์จากช่อดอกโดยนำเอาก้านช่อดอกมาทำไม้กวาดและแปรงทาสีได้
นอกจากนี้แล้ว ข้าวฟ่างยังใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายชนิด เช่น แป้งข้าวฟ่าง ใช้ในอุตสาหกรรมทำไม้อัด ทำกาว ทำกระดาษทำผ้าและทำแอลกอฮอล์ ข้าวฟ่างบางพันธุ์ เมล็ดมีรสขมฝาดก็สามารถนำมาหมักเป็นเบียร์ได้ ในประเทศจีนยังใช้เมล็ดข้าวฟ่างบางชนิด ทำเหล้าพวกเกาเหลียงได้ด้วย
ในการใช้ประโยชน์จากต้นและใบข้าวฟ่างนั้น มีสิ่งที่ต้องพึงระวังไวบ้างคือ ในต้นและใบข้าวฟ่างที่ยังอ่อนอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้าจะมีสารพิษที่เรียกว่าดูร์ริน (
dhurrin) อยู่มาก ถ้าสัตว์กินเข้าไปสารพิษตัวนี้จะถูกย่อยกลายเป็นกรดปรัซสิก (prussic acid) หรือกรดไฮโดรไซยานิก (hydrocyanic acid) ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์สารพิษชนิดนี้ถ้าได้รับมากๆ จะทำให้สัตว์พวกแพะ แกะ วัว และควายตายได้ แต่ข้าวฟ่างที่ทำเป็นหญ้าแห้ง หรือหญ้าหมักแล้ว จะใช้เลี้ยงสัตว์ได้โดยไม่เป็นอันตราย เพราะสารพิษเหล่านี้จะสลายตัวหมดไประหว่างการตากแห้ง หญ้าหมัก อาจจะมีกรดปรัซสิกอยู่บ้าง แต่จะระเหยหมดไปในระหว่างที่ขนไปเลี้ยงสัตว์ เมื่อพืชแก่กรดนี้จะลดลง ปริมาณสารพิษนี้จะแตกต่างกันไปแล้ว แต่พันธุ์และสภาพดินฟ้าอากาศ ฉะนั้นในการใช้ต้นข้าวฟ่างเลี้ยงสัตว์จึงต้องระมัดระวัง โดยทั่วไป ไม่ควรให้สัตว์กินต้นอ่อนหรือหน่อที่แตกใหม่ หากจะให้สัตว์กินควรใช้ต้นแก่ หรือมิฉะนั้นก็ตากแห้งหรือทำหญ้าหมักเสียก่อน
นอกจากสารพิษที่อยู่ในต้นและใบอ่อนของข้าวฟ่างแล้ว ในเมล็ดข้าวฟ่างบางพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ที่มีเมล็ดสีแดงแสด หรือสีน้ำตาล ยังมีสารแทนนินอยู่ในเมล็ดอีกด้วย สารนี้จะทำให้สัตว์เจริญเติบโตได้ไม่ดี เพราะทำให้โปรตีนใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ สารนี้พบมากในข้าวฟ่างพันธุ์ป่า และพันธุ์ที่ต้านทานต่อการเข้าทำลายของนก เชื่อกันว่าสารนี้ช่วยปรับโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นได้ ในสมัยโบราณ มีการสกัดเอาสารนี้มาใช้ในการฟอกหนัง เพื่อสกัดเอาโปรตีนที่ติดอยู่ตามหนังออก สารแทนนินในข้าวฟ่างเป็นตัวการทำให้รสฝาด จากการศึกษาพบว่าปริมาณแทนนินร้อยละ ๐.๑ ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของสัตว์แต่ในระดับร้อยละ ๐.๕-๒ จะทำให้อัตราการเจริญเติบโตของสัตว์ลดลง และที่ระดับร้อยละ ๕ สามารถทำให้สัตว์ตายได้ อย่างไรก็ดี สารแทนนินจะไม่มีผลเลยถ้าอาหารนั้นมีโปรตีนเพียงพอ เช่น การผสมกากถั่วเหลืองเพิ่มลงไปในอาหารสัตว์ ตั้งแต่ร้อยละ ๒๕.๓ ขึ้นไป เป็นต้น ตามความเป็นจริงแล้วสารแทนนินไม่ใช่สารพิษ เพียงแต่มีผลทำให้การย่อยโปรตีนลดลงการแยกสารแทนนินออกจากข้าวฟ่าง อาจทำได้โดยการแช่เมล็ดข้าวฟ่างในน้ำด่าง ที่อุณหภูมิ ๖๐ องศาเซลเซียส แล้วล้างด้วยน้ำร้อน เปลือกของเมล็ดข้าวฟ่างจะหลุดออกมาหมด สารแทนนินก็จะติดเปลือกออกมาด้วย

ลักษณะทั่วไปของข้าวฟ่าง
ข้าวฟ่างมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซอร์กัม ไบคัลเลอร์ (ลินเนียส) โมเอนช์ (
Sorghum bicolor (Linnaeus) Moench) จัดเป็นพืชตระกูลหญ้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีลำต้นเดียว แต่อาจจะแตกกอหรือหน่อได้แล้ว แต่ชนิดและพันธุ์ของข้าวฟ่าง โดยทั่วไปข้าวฟ่างพวกที่ใช้ประโยชน์จากเมล็ดจะไม่มีการแตกหน่อ ยกเว้นกรณีที่ต้นเดิมหรือยอดถูกทำลายไปก็จะมีการแตกหน่อขึ้นมาใหม่ ข้าวฟ่างส่วนใหญ่เป็นพืชฤดูเดียวหรือล้มลุก คือ ออกดอกให้เมล็ดแล้วก็ตายไป แต่มีข้าวฟ่างหลายประเภทที่สามารถอยู่ข้ามปีได้โดยการแตกกอจากต้นเดิม ส่วนประกอบที่สำคัญของข้าวฟ่างมีดังนี้ คือ
ราก ข้าวฟ่างมีระบบรากฝอย (
fibrous root system) รากที่เกิดจากเมล็ดโดยตรงมีรากเดียวและจะมีรากเล็กๆ แตกออกมาจากรากนี้ เรียกว่ารากแขนง เมื่อต้นอ่อนของข้าวฟ่างใช้อาหารจากคัพภะหรือเอ็มบริโอ (embryo)
จวนหมด จะเริ่มมีรากเป็นจำนวนมากแตกออกจากข้อของลำต้นที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะแผ่ออกไปอย่างกว้างขวางทั้งแนวราบและแนวลึก รากของข้าวฟ่างนี้มีปริมาณมากกว่ารากข้าวโพดประมาณ ๒ เท่า นอกจากนี้แล้ว ตรงปลายรากชั้นในยังมีสารประกอบพวกซิลิกาอยู่ด้วย ทำให้รากข้าวฟ่างแข็งแรงสามารถชอนไชไปในดินได้ดีกว่ารากข้าวโพด จึงทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีกว่า ตรงข้อเหนือดินอาจมีรากแตกออกมา รากพวกนี้เป็นรากอากาศ ซึ่งช่วยในการค้ำจุนลำต้นไม่ให้ล้มได้ง่าย
ลำต้น ลำต้นข้าวฟ่างมีความสูงแตกต่างกันตั้งแต่ ๔๕ เซนติเมตร ถึงกว่า ๔ เมตร แต่ข้าวฟ่างที่นิยมปลูกกันทั่วไปจะมีลำต้นสูงประมาณ ๑-๒ เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นอยู่ระหว่าง ๕ มิลลิเมตร ถึง ๓ เซนติเมตร ลำต้นจะเจริญเติบโตตั้งตรงเหมือนพืชทั่วไป ลำต้นจะมีข้อ ปล้องใบ และกาบใบ ห่อหุ้มอยู่ทุกๆ ข้อของต้นจะมีตาแต่จะไม่มีการเจริญ ยกเว้นตาตรงข้อต่ำสุดที่จะเจริญเป็นหน่อหรือกอและกิ่งก้าน ซึ่งจะกลายไปเป็นต้นใหม่ได้ ลำต้นของข้าวฟ่างค่อนข้างแข็งภายในลำต้นจะมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มีรูอยู่ตรงแกนกลาง บางพันธุ์มีน้ำซึ่งอาจมีรสหวานหรือไม่มีรสเลย และบางพันธุ์อาจแห้ง
ใบ ข้าวฟ่างที่ปลูกอยู่ทั่วไปมีใบอยู่ระหว่าง ๗ ถึง ๒๔ ใบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล้อม ใบอ่อนของข้าวฟ่างตั้งตรง ขณะที่ใบแก่โค้งลง ใบจะเกิดตามข้อและสลับด้านกันไปตลอดลำต้น ใบแก่มีความยาวของใบตั้งแต่ ๓๐-๑๓๕ เซนติเมตร ความกว้างของใบอยู่ระหว่าง ๑.๕-๑๕ เซนติเมตร ใบมีลักษณะเป็นรูปใบหอกหรือใบหอกเรียวๆ ขอบใบอาจมีลักษณะเรียบตลอดหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนขอบใบจะสากมือและใบแก่จะเรียบลื่น บนเส้นกลางใบใกล้กับฐานใบจะมีขนสั้นๆ ส่วนที่ผลิตขี้ผึ้งจะอยู่ตรงบริเวณข้อต่อของเส้นกลางใบกับกาบใบ

กาบใบ กาบใบจะหุ้มอยู่รอบต้นโดยซ้อนวนเริ่มจากขวาทับซ้ายแล้วซ้ายทับขวา กาบใบอาจจะมีความยาวตั้งแต่ ๑๕-๓๕ เซนติเมตร ด้านหน้าของกาบใบอาจมีขี้ผึ้งปกคลุมอยู่ ตรงฐานหรือโคนของกาบใบส่วนที่ติดกับข้อจะมีแถบขนสั้นๆ สีขาวติดอยู่ด้วย
ช่อดอก ช่อดอกข้าวฟ่างเกิดจากปล้องบนสุดของต้น ซึ่งจะเป็นปล้องที่ยาวที่สุดด้วย ช่อดอกประกอบด้วย ก้านช่อดอก แกนกลางของช่อดอก กิ่งแขนงและกิ่งย่อยช่อดอก ซึ่งเป็นที่เกิดของดอกและเมล็ด ดอกของข้าวฟ่างมีอยู่ ๒ ชนิด ชนิดแรกเป็นดอกที่ไม่มีก้านซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ และจะพัฒนาไปเป็นเมล็ด ดอกอีกชนิดหนึ่งเป็นดอกที่มีก้านดอก ดอกชนิดนี้จะเป็นหมัน มีแต่เกสรตัวผู้เท่านั้น ช่อดอกของข้าวฟ่างจะมีลักษณะหลวมหรือแน่น สั้นหรือยาว และอาจตั้งตรงหรือโค้ง ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ของข้าวฟ่าง พวกข้าวฟ่างไม้กวาด หญ้าซูดาน และข้าวฟ่างหวานบางพันธุ์มักจะมีช่อดอกหลวมมาก ส่วนข้าวฟ่างเมล็ดโดยทั่วไปมักจะมีช่อดอกแน่นและมีจำนวนเมล็ดมากกว่า จำนวนดอกสมบูรณ์ในแต่ละช่อดอกอาจมีถึง ๖
,๐๐๐ ดอก ปกติแล้วการบานของดอกข้าวฟ่าง ตลอดทั้งช่อดอก ใช้เวลาประมาณ ๖-๙ วัน ในท้องถิ่นที่มีอากาศเย็นอาจใช้เวลานานกว่านั้น โดยธรรมชาติข้าวฟ่างเป็นพืชผสมตัวเอง คือ เกสรตัวผู้ผสมกับเกสรตัวเมียภายในต้นเดียวกัน แต่อาจจะมีการผสมข้ามโดยเกสรตัวผู้จากต้นหนึ่งไปผสมกับเกสรตัวเมียของอีกต้นหนึ่ง โดยลมหรือแมลงได้ถึงร้อยละ ๑๕


ชนิดของข้าวฟ่าง
ข้าวฟ่างที่ปลูกกันโดยทั่วไปนั้น อาจจะแบ่งเป็นชนิดต่างๆ โดยอาศัยลักษณะการใช้ประโยชน์ได้เป็น ๕ ชนิด ดังนี้ คือ
๑. ข้าวฟ่างเมล็ด (
grain sorghum) เป็นข้าวฟ่างชนิดที่มีขนาดช่อและเมล็ดใหญ่กว่า ต้นเตี้ยกว่า และผลิตเมล็ดได้มากกว่าข้าวฟ่างชนิดอื่นๆ ข้าวฟ่างชนิดนี้จะนำเมล็ดมาใช้เป็นอาหารทั้งอาหาร มนุษย์และอาหารสัตว์ ข้าวฟ่างที่ปลูกกันในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นข้าวฟ่างชนิดนี้ ได้แก่ ข้าวฟ่างพันธุ์อู่ทอง ๑ พันธุ์เฮการี (hegari) เป็นต้น
๒. ข้าวฟ่างหญ้า (
grass sorghum) เป็นข้าวฟ่างที่ใช้ใบและลำต้น เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะ อาจจะใช้ทำหญ้าหมัก หญ้าแห้ง ตัดต้นสดให้สัตว์กินหรือปลูกเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ข้าวฟ่างชนิดนี้มีลำต้นและใบเล็ก ยาวเรียวเหมือนหญ้า เมล็ดค่อนข้างเล็ก แต่มีขนาดใหญ่กว่าเมล็ดหญ้าทั่วๆ ไป ตัวอย่างข้าวฟ่างชนิดนี้ ได้แก่ หญ้าซูดาน หญ้าซูแดกซ์ (sudax)
ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างข้าวฟ่างกับหญ้าซูดาน
๓. ข้าวฟ่างหวาน (
sorgo หรือ sweet sorghum)
ข้าวฟ่างชนิดนี้มีลำต้นค่อนข้างสูง มักจะสูงกว่า ๒ เมตร ในลำต้นจะมีน้ำหวานอยู่มากคล้ายอ้อย ใช้หีบเอาไปทำน้ำเชื่อมหรือน้ำตาลได้ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ทำแอลกอฮอล์ได้อีกด้วย ต้นและใบใช้ทำหญ้าหมักหรือปลูกให้สัตว์กินสดๆ ได้
๔. ข้าวฟ่างไม้กวาด (
broom corn)
ข้าวฟ่างชนิดนี้มีช่อหรือก้านรวงที่มีแขนงยาวถึง ๓๐-๙๐ เซนติเมตร ก้านรวงที่เอาเมล็ดออกไปแล้วจึงเหมาะที่จะใช้ทำไม้กวาดได้ดี ข้าวฟ่างชนิดนี้มีใบและเมล็ดน้อย เมล็ดค่อนข้างเล็ก มักมีขนหรือหางลำต้นแข็ง ในยุโรปและอเมริกาจึงนิยมปลูกเพื่อนำช่อมาทำไม้กวาดโดยเฉพาะ
๕. ข้าวฟ่างคั่ว (
pop sorghum) เป็นข้าวฟ่างที่มีเมล็ดค่อนข้างแข็ง แกร่ง เมล็ดมีส่วนของแป้งแข็งซึ่งล้อมรอบแป้งอ่อนมาก เมื่อนำมาคั่วจะแตกพองเช่นเดียวกับข้าวโพดคั่ว นิยมรับประทานในหลายประเทศ ในประเทศไทยมีปลูกกันมานานแล้ว ตามคันนา หรือบริเวณบ้าน ต้นสูงประมาณ ๓ เมตร ต้นสีน้ำตาล ช่อดอกหลวม เมล็ดเล็กสีเหลืองนวล หรือสีขาวมีแป้งใสมาก มีคุณค่าอาหารสูง พันธุ์ที่รู้จักกันทั่วไป คือ ข้าวฟ่างหางช้าง ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวฟ่างที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เลวได้ดี แต่ไวต่อช่วงแสง คือ ถ้าปลูกก่อนเดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นเดือนที่เหมาะแก่การปลูก จะยืดระยะของการเจริญเติบโตออกไปอีก ทำให้อายุเก็บเกี่ยวยาวกว่าปกติ เนื่องจากช่วงแสงแดดในระยะเวลานั้นไม่เหมาะสมกับการผลิดอกออกช่อและแก่เพื่อเก็บเกี่ยวได้

พันธุ์ข้าวฟ่างที่ใช้ปลูกอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์ ผลิตจำหน่ายโดยภาครัฐบาลและภาคเอกชน พันธุ์ข้าวฟ่างที่ใช้อาจแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้
๑. ข้าวฟ่างพันธุ์แท้หรือสายพันธุ์บริสุทธิ์ เป็นพันธุ์ข้าวฟ่างที่มีความคงตัวของลักษณะพันธุ์จากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งไม่เปลี่ยนแปลง คือ รุ่นลูกจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับรุ่นพ่อแม่เสมอ ถ้าไม่ได้รับการผสมข้ามหรือปะปนมาจากพันธุ์อื่น ในธรรมชาติแล้วข้าวฟ่างจะเป็นข้าวฟ่างสายพันธุ์บริสุทธิ์เกือบทั้งหมด ข้าวฟ่างที่ดีประเภทนี้ จะสามารถให้ผลิตผลสูง ต้านทานต่อโรคและแมลงได้ดี แต่ต้นมีความสูงไม่ค่อยสม่ำเสมอนัก ข้าวฟ่างชนิดนี้มีทั้งพันธุ์หนักอายุยาว และพันธุ์เบาอายุสั้น สามารถเก็บเมล็ดเอาไว้ทำพันธุ์เพื่อปลูกในฤดูต่อไปได้โดยไม่กลายพันธุ์ เช่น พันธุ์เฮการีหนัก พันธุ์อู่ทอง ๑ และพันธุ์สุพรรณบุรี ๖๐
๒. ข้าวฟ่างลูกผสม คือพันธุ์ข้าวฟ่างที่ได้จากการผสมข้ามของสายพันธุ์แท้ (
inbred line) สองสายพันธุ์ขึ้นไป เรียกว่าลูกชั่วแรก (F1) เพื่อให้เกิดลักษณะดีเด่นหลายๆ ประการ เช่น ให้ผลิตผลสูง แข็งแรง ต้นเตี้ยมีความสูงสม่ำเสมอมาก เก็บเกี่ยวได้ง่าย เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วออกดอกเร็ว อายุเก็บเกี่ยวสั้น ต้านทานโรคและแมลงได้ดี ตอบสนองต่อปุ๋ยดี แต่เมล็ดของข้าวฟ่าง ประเภทนี้ ไม่สามารถนำไปใช้เป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อปลูกต่อไปได้ เพราะลักษณะดีเด่นต่างๆ จะปรวนแปรและเสื่อมลง ต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ใหม่มาปลูกทุกปี เมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่ผลิตจำหน่ายโดยบริษัทเอกชน ราคาเมล็ดพันธุ์ค่อนข้างแพง เนื่องจากวิธีการผลิตเมล็ดพันธุ์ลูกผสมนี้ทำได้ยาก เช่น พันธุ์ลูกผสม เคยู ๘๕๐๑ (KU 8501) พันธุ์ แปซิฟิก ๘๐ (Pacific
80) เป็นต้น
สีของเมล็ดข้าวฟ่างที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งพันธุ์แท้และพันธุ์ลูกผสม มีทั้งสีขาว สีเหลือง สีเหลืองนวล สีแดงแสด และสีน้ำตาล ความนิยมปลูกของพันธุ์ที่มีเมล็ดสีต่างๆ นั้น ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดหรือการค้า และวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์หรือในการแปรรูป ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ข้าวฟ่างโดยธรรมชาติจะเป็นพืชผสมตัวเอง แต่อาจจะมีการผสมข้ามโดยลมหรือแมลงถึงร้อยละ ๑๕ ดังนั้น จึงไม่ควรปลูกข้างฟ่างต่างพันธุ์ที่มีสีเมล็ดต่างกันไว้ใกล้กันและในเวลาเดียวกัน เพราะจำทำให้เกิดการผสมข้าม เป็นเหตุให้สีเมล็ดเกิดการผสมปนกัน ขายไม่ได้ราคาดี

การปลูกและการดูแลรักษาข้าวฟ่าง
ฤดูปลูก ข้าวฟ่างปลูกได้ตลอดปี แต่ทั้งนี้จำเป็นต้องเลือกพันธุ์ปลูกให้เหมาะสม เพราะพันธุ์ข้าวฟ่างบางพันธุ์มีความไวต่อช่วงแสง โดยทั่วไปแล้ว เกษตรกรไทยจะปลูกข้าวฟ่างแตกต่างกันเป็น ๒ ระบบ แล้วแต่ท้องที่ บางแห่งปลูกเป็นพืชหลัก บางแห่งปลูกเป็นพืชรอง ถ้าปลูกเป็นพืชหลักจะปลูกต้นฤดูฝน ราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน หรือในขณะที่มีฝนพอที่จะปลูกได้ หากข้าวฟ่างรุ่นแรกให้ผลดี หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วเกษตรกรจะตัดต้นปล่อยให้แตกหน่อเพื่อเก็บผลิตผลอีกครั้งหนึ่ง แต่ถ้าแตกหน่อไม่ดีก็จะไถทิ้งแล้วปลูกข้าวฟ่างใหม่หรือพืชอื่นแทน การปลูกต้นฤดูฝนมีปัญหาที่สำคัญ คือ ปัญหาการตากข้าวฟ่าง เพราะผลิตผลของการปลูกรุ่นนี้จะเก็บเกี่ยวได้ในระยะที่มีฝนตกชุก หาที่ตากช่อยาก เมล็ดมักชื้น และมีเชื้อราเกิดขึ้น ทำให้ได้เมล็ดไม่มีคุณภาพ นอกจากนี้ การปลูกต้นฤดูฝนมักจะมีหนอนเจาะต้นอ่อนข้าวฟ่าง ซึ่งเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญระบาดทำลายต้นอ่อนมาก แต่ปริมาณของหนอนนี้จะลดลงในตอนปลายฤดูฝน การปลูกข้าวฟ่างต้นฤดูฝนนี้จะปฏิบัติกันมากในแถบที่ปลูกข้าวโพดไม่ค่อยได้ผล อาจจะเป็นเพราะดินระบายน้ำไม่ค่อยดี หรือฝนตกค่อนข้างน้อยไม่สม่ำเสมอ เช่น แถบจังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี หรือพื้นที่ที่เป็นดินทรายมาก ความชื้นไม่พอที่จะปลูกข้าวโพดได้เช่น ท้องที่บางแห่งในจังหวัดนครสวรรค์
การปลูกข้าวฟ่างเป็นพืชรอง เกษตรกรจะปลูกกันมากในบริเวณที่เป็นแหล่งปลูกข้าวโพด เช่น ในจังหวัดสระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา และเพชรบูรณ์ โดยปลูกข้าวฟ่างเป็นพืชที่สองตามหลังข้าวโพด หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้ว ซึ่งจะอยู่ในราวเดือนสิงหาคม
กันยายน การปลูกในช่วงนี้น่าจะเป็นช่วงที่เหมาะสมที่สุดในสภาพการเพาะปลูกของประเทศไทย เพราะระยะที่ปลูก ดินจะมีความชื้นดี ทำให้เมล็ดงอกได้สม่ำเสมอ ต้นอ่อนเจริญเติบโตดี ข้าวฟ่างรุ่นนี้จะแก่และเก็บเกี่ยวได้เมื่อฝนหมดพอดี ทำให้สะดวกในการเก็บเกี่ยวและการตาก ได้เมล็ดที่แห้งสนิทสะอาด และมีคุณภาพดี ไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อราที่เมล็ด ข้าวฟ่างในขณะที่เป็นกล้าไม่ค่อยทนแล้งมากนัก แต่จะทนแล้งได้ดีเมื่อต้นโตแล้ว จึงควรใช้คุณสมบัติข้อนี้ของข้าวฟ่างให้เป็นประโยชน์ คือ ปลูกพืชอื่นในต้นฤดูฝน แล้วปลูกข้าวฟ่างตาม ซึ่งข้าวฟ่างก็ยังสามารถให้ผลได้ดี วิธีนี้จะทำให้สามารถปลูกพืชได้ ๒ ครั้ง โดยอาศัยน้ำฝนแต่เพียงอย่างเดียว
การเตรียมดิน ควรไถดินครั้งแรกให้ลึกประมาณ ๑๓-๑๖ เซนติเมตร เพื่อพลิกดินให้แตกและทำลายวัชพืช แล้วตากดินไว้ประมาณ ๑ สัปดาห์ จากนั้นจึงไถแปรหรือไถพรวนเพื่อย่อยให้ดินร่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่จะโรยเมล็ด เพราะต้นอ่อนของข้าวฟ่างเจริญเติบโตช้า ดินบริเวณดังกล่าวจึงควรเตรียมให้ร่วนซุยดี เพื่อให้เก็บหรืออุ้มความชื้นและอากาศถ่ายเทได้ดี เหมาะแก่การงอกและการเจริญเติบโตของต้นอ่อนข้าวฟ่าง การเตรียมดินไม่ดีอาจจะทำให้เมล็ดงอกไม่สม่ำเสมอ การเตรียมดินดีนอกจากจะทำให้พืชที่ปลูกเจริญเติบโตดีแล้ว ยังจะช่วยลดปริมาณวัชพืชลงได้อีกด้วย
วิธีการปลูก การปลูกข้าวฟ่างอาจจะใช้วิธีหว่านหรือปลูกเป็นแถว การปลูกโดยวิธีหว่านเสียแรงงานในการปลูกน้อย แต่ต้นข้าวฟ่างจะขึ้นไม่สม่ำเสมอ บางแห่งอาจจะถี่เกินไปหรือห่างเกินไป และต้นขึ้นไม่เป็นแถวเป็นแนว ทำให้เข้าไปดายหญ้ากำจัดวัชพืชลำบาก จะเสียแรงงานในการดายหญ้ามากกว่าการปลูกแถว ถ้าหากจะปลูกด้วยวิธีหว่านควรเตรียมดินให้สะอาดจริงๆ จะช่วยลดปริมาณวัชพืชลงได้บ้าง การหว่านใช้เมล็ดประมาณ ๓-๔ กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการปลูกเป็นแถวเป็นแนว นอกจากจะสะดวกในการเข้าไปดายหญ้ากำจัดวัชพืชแล้ว ยังสามารถควบคุมระยะปลูกให้สม่ำเสมอกันได้ดีอีกด้วยการปลูกเป็นแถวอาจจะใช้วิธีหยอดเป็นหลุม หรือใช้ควายหรือรถไถเปิดร่องให้ลึก ๕-๘ เซนติเมตรแล้วโรยเมล็ดให้ห่างกันได้ระยะแล้วจึงกลบ ระยะปลูกที่แนะนำ คือ ระยะห่างระหว่างแถว ๕๐-๖๐ เซนติเมตร และระหว่างต้น ๑๐ เซนติเมตร หรือระยะระหว่างแถว ๖๐ เซนติเมตร ระหว่างหลุม ๓๐ เซนติเมตร และ ๓ ต้นต่อหลุม ซึ่งจะมีจำนวนต้นต่อไร่ประมาณ ๒๖
,๐๐๐-๓๒,
๐๐๐ ต้น หากต้นที่ขึ้นมาถี่เกินไปควรจะถอนทิ้งเสียบ้างให้ได้ระยะตามที่ต้องการ ถ้าปล่อยให้ต้นถี่เกินไปจะทำให้ต้นเล็ก รวงเล็ก และผลิตผลต่ำ การปลูกแบบแถวใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ ๓ กิโลกรัมต่อไร่
การใส่ปุ๋ย ถ้าดินที่ปลูกอุดมสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยอีก แต่ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำก็ควรหาปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยเคมี ใส่ช่วยตามสมควร อัตราการใส่ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ที่ควรใช้ จะแตกต่างกันไปตามสภาพความสมบูรณ์ของดิน ในแต่ละท้องที่และแต่ละชนิดของดิน โดยทั่วๆ ไป ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เช่น ในดินทรายแนะนำให้ใช้ปุ๋ยสูตร ๑๖-๑๖-๘ หรือ ๑๕-๑๕-๑๕ ในอัตราประมาณ ๓๕-๘๐ กิโลกรัมต่อไร่ แล้วแต่สูตรปุ๋ย สำหรับดินร่วนเหนียวที่ไม่อุดมสมบูรณ์นักใช้ปุ๋ยสูตร ๒๐-๒๐-๐ ในอัตรา ๒๕-๕๐ กิโลกรัมต่อไร่
การใส่ปุ๋ยในการปลูกแบบหว่าน ต้องหว่านปุ๋ยดังกล่าวแล้วพรวนกลบก่อนหว่านข้าวฟ่าง การปลูกเป็นแถวอาจใช้วิธีโรยในแถวที่จะปลูกหรือหยอดในหลุมที่จะหยอดเมล็ด แต่ต้องไม่ให้เมล็ดสัมผัสกับปุ๋ยได้ อาจจะโรยปุ๋ยก้นร่องหรือก้นหลุม แล้วกลบด้วยดินก่อนที่จะหยอดเมล็ด เนื่องจากปุ๋ยเคมีมีราคาแพง ฉะนั้น จึงควรใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้มากที่สุดเท่าที่จะหาได้ เพราะนอกจากจะลดค่าปุ๋ยแล้ว ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักยังช่วยทำให้ดินร่วนซุย อมน้ำ และดูดซับธาตุอาหารได้ดีขึ้นอีกด้วย
การกำจัดวัชพืช วัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำและอาหารของพืชที่ปลูก หากปล่อยให้มีมากจะทำให้ผลิตผลต่ำ ควรจะดายหญ้ากำจัดวัชพืชอย่างน้อย ๒ ครั้ง ครั้งแรกควรทำเมื่อข้าวฟ่างมีอายุราว ๑ เดือน หรือขณะที่ข้าวฟ่างและวัชพืชยังเล็กอยู่ในระยะแรกๆ ข้าวฟ่างจะโตช้า ขึ้นสู้หรือแข่งกับวัชพืชไม่ทัน การกำจัดวัชพืชในช่วงนี้นับว่าสำคัญมาก หากปล่อยให้มีวัชพืชจะทำให้ผลิตผลของข้าวฟ่างลดต่ำลงมามาก การกำจัดวัชพืชครั้งที่ ๒ เมื่อข้าวฟ่างมีอายุประมาณ ๒ เดือน การปลูกข้าวฟ่างแบบหว่านมักไม่มีการกำจัดวัชพืช เนื่องจากเข้าไปปฏิบัติในแปลงได้ลำบาก
การใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชในสภาพการเพาะปลูกข้าวฟ่างของประเทศไทยยังไม่เหมาะสม เนื่องจากสารเคมีราคาค่อนข้างแพงในกรณีที่ต้องการใช้ ควรใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชอะทราซีน (
atrazine) พ่นหลังจากปลูกข้าวฟ่างเสร็จแล้ว และดินยังมีความชื้นอยู่ ในอัตรา ๔๐๐ กรัมต่อไร่

แหล่งกำเนิดข้าวฟาง
ประวัติ ถิ่นฐานดั้งเดิม และการแพร่กระจายของข้าวฟ่าง
ประวัติความเป็นมาและถิ่นฐานดั้งเดิมของข้าวฟ่างเป็นเรื่องที่ไม่ทราบกันแน่ชัด แต่จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบพอจะสันนิษฐานได้ว่า ข้าวฟ่างน่าจะมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา โดยเฉพาะทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปมนุษย์คงจะรู้จักข้าวฟ่างมาไม่น้อยกว่า ๕
,๐๐๐ ปี เพราะมีรายงานจากหลักฐานทางโบราณคดีว่ามีผู้นำข้าวฟ่างจากภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาไปปลูกในอินเดียเมื่อประมาณ ๑,๗๒๕ ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ แต่แหล่งกำเนิดและจุดวิวัฒนาการของข้าวฟ่างจากพันธุ์ป่าดั้งเดิมมาเป็นพันธุ์เพาะปลูกนั้น สันนิษฐานว่าคงจะเริ่มมาจากแถบประเทศเอธิโอเปีย ซึ่งในแถบนั้นมีพืชจำพวกข้าวฟ่างกระจายตัวอยู่อย่างมากมายหลายชนิด ชาวเอธิโอเปียรู้จักข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์มาตั้งแต่ ๓,๐๐๐-๔,๐๐๐ ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ ได้เพาะปลูกพืชทั้ง ๒ ชนิดนี้เพื่อใช้เป็นอาหารเรื่อยมา ขณะเดียวกันก็คงพัฒนาและคัดเลือกข้าวฟ่างซึ่งเป็นพันธุ์ป่าดั้งเดิมอยู่บริเวณนั้นให้เป็นพันธุ์สำหรับเพาะปลูก จนได้พันธุ์เพาะปลูก ซึ่งใช้ปลูกกันแพร่หลายต่อๆ มา แล้วแพร่กระจายไปยังประเทศต่างๆ ในทุกภาคของทวีปแอฟริกาตามการอพยพของชนพื้นเมือง
การแพร่กระจายของข้าวฟ่างจากถิ่นเดิมในทวีปแอฟริกาไปยังส่วนต่างๆ ของโลกนั้นเข้าใจว่าเกิดจากชาวเรือที่เดินทางระหว่างทวีปแอฟริกา ตะวันออกกลาง และอินเดีย เป็นผู้นำไปมีหลักฐานแสดงว่าข้าวฟ่างแพร่ไปยังอินเดียและยุโรปในราวๆ ต้นคริสต์ศตวรรษ แล้วแพร่ขยายต่อไปยังทางตอนใต้ของทวีปเอเชีย สันนิษฐานว่าข้าวฟ่างแพร่ไปถึงประเทศจีนประมาณคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีหลักฐานหรือรายงานเกี่ยวกับข้าวฟ่างในประเทศจีนเลยถึงแม้จะมีผู้กล่าวว่าข้าวฟ่างไปถึงประเทศจีนก่อนหน้านั้นแล้วก็ตาม ข้าวฟ่างที่แพร่กระจายไปยังประเทศจีนอาจจะไปจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออินเดียก็ได้ ข้าวฟ่างเหล่านี้ในเวลา ต่อมาได้พัฒนากลายมาเป็นข้าวฟ่างเกาเหลียงชนิดต่างๆ ของจีน แมนจูเรีย และญี่ปุ่น
ข้าวฟ่างถูกนำจากแอฟริกาไปยุโรปมากขึ้นในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ และ ๑๘ โดยพวกแอฟริกันที่ถูกกวาดต้อนไปเป็นทาสนำติดตัวไป แม้จะมีการปลูกกันบ้างเป็นครั้งคราว แต่พันธุ์ที่นำเข้าไปในระยะนั้น เป็นพันธุ์ที่ไม่ค่อยมีความสำคัญนัก
การแพร่กระจายของข้าวฟ่างเข้าไปสู่สหรัฐอเมริกา เริ่มระหว่าง พ.ศ. ๒๓๙๖-๒๔๐๐ โดยมีผู้นำข้าวฟ่างหวานจากฝรั่งเศสและแอฟริกาใต้เข้าไปปลูกเพื่อทำน้ำตาลและเป็นพืชอาหารสัตว์ ซึ่งข้าวฟ่างบางพันธุ์ที่นำเข้าไปในช่วงเวลานั้น ได้กลายมาเป็นข้าวฟ่างหวานที่นิยมปลูกกันในสมัยแรกๆ สำหรับการปลูกข้าวฟ่างเมล็ดในสหรัฐอเมริกานั้น เริ่มมีขึ้นหลังจากที่มีการนำเอาข้าวฟ่างพันธุ์ดูร์รา (
durra) จากอียิปต์ พันธุ์คาเฟอร์ (kafir) จากแอฟริกาใต้ พันธุ์ไมโล (milo) จากโคลัมเบีย และพันธุ์แชลลู (shallu) จากอินเดียเข้าไปทดลองปลูกใน พ.ศ. ๒๔๑๗, ๒๔๑๙, ๒๔๒๒ และ ๒๔๓๓ ตามลำดับ จากนั้นได้มีการนำเอาพันธุ์ข้าวฟ่างที่สำคัญอื่นๆ จาก แอฟริกาใต้ อียิปต์ และซูดาน เข้าไปทดลองปลูกอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง คือ ในระหว่างพ.ศ. ๒๔๔๘-๒๔๕๑ พันธุ์ที่นำเข้าไปในช่วงนั้น มีทั้งข้าวฟ่างพันธุ์เฮการี คาเฟอร์ และเฟเทอริทา (feterita) อยู่ด้วย พันธุ์เหล่านี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นข้าวฟ่างเมล็ดที่ปลูกกันอยู่ในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน นอกจากนี้ ใน พ.ศ. ๒๔๓๓ เจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ยังได้นำข้าวฟ่างพวกหญ้าซูดาน ซึ่งเป็นพืชอาหารสัตว์ที่สำคัญของสหรัฐฯ อยู่ในขณะนี้จากประเทศซูดานเข้าไปปลูกอีกด้วย ส่วนข้าวฟ่างไม้กวาดซึ่งเกิดจากการคัดเลือกพันธุ์ให้ได้พันธุ์ที่มีก้านช่อดอกยาว และแข็ง ปลูกกันมากในยุโรป ในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ นั้น เบนจามินแฟรงคลิน (Benjamin Franklin)
นักวิทยาศาสตร์ลือนามชาวอเมริกัน ได้เป็นผู้นำเข้าไปยังสหรัฐอเมริกา
แม้ว่าข้าวฟ่างจะแพร่ไปถึงอาร์เจนตินาปารากวัย และออสเตรเลีย ในระยะแรกที่มีการตั้งถิ่นฐานกันนั้น การปลูกข้าวฟ่างในประเทศเหล่านั้นก็เพิ่งจะมีความสำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ นี้ เมื่อได้มีการนำเอาข้าวฟ่างพันธุ์ใหม่ๆ จากสหรัฐอเมริกาเข้าไปปลูก
ข้าวฟ่างเมล็ดที่ปลูกกันอยู่ในปัจจุบันนี้ประกอบไปด้วย ข้าวฟ่างพันธุ์ดั้งเดิมหลายพันธุ์และพันธุ์ใหม่ๆ ที่ได้จากการผสมพันธุ์ขึ้นมาอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้รวมไปถึงพวกข้าวฟ่างหวานด้วย

แหล่งปลูกข้าวฟ่าง

ข้าวฟ่างสามารถขึ้นได้ทั่วไปในทุกทวีปในบริเวณที่อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูร้อนสูงกว่า ๒๐ องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ตั้งแต่พื้นที่ที่อยู่ในระดับน้ำทะเลจนกระทั่งถึง ๑
,๕๐๐ เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ข้าวฟ่างขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวฟ่างให้ได้ผลิตผลสูง คือดินที่มีลักษณะเป็นดินร่วนเหนียวหน้าดินลึก การระบายน้ำดี และมีความอุดมสมบูรณ์มาก ลักษณะความเป็นกรด-เบสของดินไม่ค่อยจะกระทบกระเทือนต่อการเจริญเติบโตของข้าวฟ่างเท่าใดนัก ข้าวฟ่างขึ้นได้ดีในดินที่มีค่าความเป็นกรด-เบส ตั้งแต่ ๕.๕-๘.๗ และสามารถทนต่อความเป็นเกลือได้ดีกว่าข้าวโพด
ข้าวฟ่างเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี สามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝนประมาณ ๔๐๐-๖๐๐ มิลลิเมตรต่อปี ใบและต้นข้าวฟ่างจะเหี่ยวและแห้งช้ากว่าข้าวโพด เนื่องจากมีสารคล้ายขี้ผึ้งเคลือบผิวใบและลำต้น ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียน้ำได้ นอกจากนี้ข้าวฟ่างยังมีระบบรากมากกว่าข้าวโพดจึงหาน้ำและอาหารได้ดีกว่า ทำให้ข้าวฟ่างทนแล้งได้ดีกว่าข้าวโพด
แหล่งผลิตข้าวฟ่างที่สำคัญของโลกได้แก่ ทวีปอเมริกาเหนือและทวีปอเมริกากลาง ซึ่งผลิตข้าวฟ่างได้ประมาณร้อยละ ๔๓ ของผลิตผลทั่วโลก ทวีปเอเชียผลิตได้เกือบร้อยละ ๒๖ ทวีปแอฟริกาผลิตได้ร้อยละ ๒๐ ประเทศลาตินอเมริกา และกลุ่มประเทศโอเชียเนีย ผลิตได้ประมาณร้อยละ ๘ และ ๖ ตามลำดับ ทวีปยุโรปผลิตได้น้อยที่สุด คือ ประมาณร้อยละ ๐.๖ ของผลิตผลทั่วโลก
พื้นที่เพาะปลูกข้าวฟ่างทั่วทั้งโลก ใน พ.ศ. ๒๕๓๐ มีประมาณ ๒๗๔ ล้านไร่ ผลิตข้าวฟ่างได้ประมาณ ๕๙ ล้านต้น ผลิตผลเฉลี่ยของข้าวฟ่างทั่วโลกประมาณ ๒๑๖ กิโลกรัมต่อไร่ ประเทศที่ผลิตข้าวฟ่างมากที่สุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (๑๘.๘ ล้านตัน) รองลงไปคือ อินเดีย (๙.๔ ล้านตัน) สาธารณรัฐประชาชนจีน (๖.๑ ล้านตัน) เม็กซิโก (๔.๘ ล้านตัน) ไนจีเรีย (๔.๕ ล้านตัน) และยังมีประเทศที่ผลิตข้าวฟ่างได้มากรองลงไป ได้แก่ อาร์เจนตินา ซูดาน ออสเตรเลีย และเอธิโอเปีย ประเทศในยุโรปที่ผลิตข้าวฟ่างมาก ได้แก่ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต และสเปน ประเทศที่ผลิตส่วนใหญ่ผลิตเพื่อการบริโภคของคนและเป็นอาหารสัตว์ภายในประเทศ ไม่ได้ผลิตเพื่อส่งออกจำหน่ายต่างประเทศ ประเทศที่ผลิตข้าวฟ่างหลังจากใช้ภายในประเทศแล้วยังมีเหลือส่งจำหน่ายรายใหญ่ของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริการองลงมา ได้แก่ ประเทศอาร์เจนตินา
สำหรับประเทศไทยนั้นสามารถปลูกข้าวฟ่างได้เกือบทุกภาคของประเทศ เว้นแต่ภาคใต้ซึ่งแทบจะไม่มีรายงานว่ามีการปลูกข้าวฟ่าง พบว่ามี การปลูกเล็กๆ น้อยๆ ในบริเวณบ้าน เพื่อใช้เป็นอาหารนกและอาหารไก่เท่านั้น จากสถิติเพาะปลูกปี ๒๕๓๐-๒๕๓๑ (เมษายน ๒๕๓๐-ธันวาคม ๒๕๓๑) ภาคกลางผลิตข้าวฟ่างได้มากที่สุด คือ ผลิตได้ประมาณ ๙๔
,๒๓๑ ตัน จากพื้นที่เพาะปลูก ๕๓๒,๑๑๔ ไร่ รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ ผลิตได้ ๙๐,๑๖๗ ตัน แต่มีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่าภาคกลาง คือ ๕๓๓,๗๕๒ ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ปลูกเพียง ๓๙,๔๓๘ ไร่ และผลิตได้เพียง ๗,
๒๓๙ ตัน ผลิตผลเฉลี่ยของทั้งประเทศประมาณ ๑๙๒ กิโลกรัมต่อไร่ แหล่งปลูกข้าวฟ่างส่วนใหญ่เป็นบริเวณเดียวกับแหล่งปลูกข้าวโพด จังหวัดที่ผลิตข้าวฟ่างที่สำคัญ ได้แก่ ลพบุรี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ สระบุรี อุทัยธานี และนครราชสีมา ในบริเวณนี้เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกข้าวฟ่างเป็นพืชที่สองในปลายฤดูฝนหลังเก็บเกี่ยวข้าวโพด ซึ่งปลูกเป็นพืชแรกตอนต้นฤดูฝนแล้ว นอกจากนี้ ยังมีปลูกกันมากพอสมควรทางแถบจังหวัดสุพรรณบุรีและกาญจนบุรี

ข้าวสาลี
ข้าวสาลี เป็นพืชจำพวกธัญพืช ปลูกมากในแถบประเทศตะวันออกกลาง เหนือเส้นศูนย์สูตร หรือในเขตอบอุ่น หรือเขตหนาวบางเขต เมล็ดข้าวสาลีจะมีแป้งเป็นส่วนประกอบอยู่ประมาณ 70% และมีแร่ธาตุอื่น ๆ อีกเป็นองค์ประกอบ 30% ต้นข้าวสาลีประกอบไปด้วยธาตุอาหารมากกว่า 100 ชนิด ซึ่งรวมทั้งแร่ธาตุหลัก ๆ ที่ร่างกายต้องการทุกตัว แร่ธาตุรองที่ร่างกายต้องการในปริมาณเล็กน้อย วิตามินในกลุ่มบีคอมเพล็กซ์ครบถ้วน นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในเรื่องของแหล่งโปร วิตามินเอ ที่สูงที่สุดในบรรดาอาหารต่าง ๆ รวมทั้งมีวิตามินซี อี และเค เป็นจำนวนมาก น้ำต้นข้าวสาลีมีโปรตีนอยู่ 25 % ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงมากกว่าเมื่อเทียบกับเนื้อปลา ไข่ ผลิตภัณฑ์นม หรือถั่วต่าง ๆ มากไปกว่านี้ยังมีสารต้าน เชื้อรา สารต้านพิษจากเชื้อราที่เรียกว่า laetrile อีกด้วย
ประโยชน์ของข้าวสาลี
๑) นำเมล็ดข้าวสาลีมาบดให้แตกด้วยโม่หินหรือโม่กาแฟ (โม่โลหะ) เมล็ดแตกแล้วใช้ทำโจ๊ก ข้าวต้ม ถ้านำมาลวกน้ำเดือดสัก ๒๐ นาที ก็นำมาทำยำ สลัด ข้าวผัด ข้าวสาลีต้มสุกทั้งเมล็ด ใช้ทำขนมประเภท ข้าวเหนียวเปียก และข้าวโพดคลุก
๒) นำเมล็ดข้าวสาลีที่บดแตกแล้วมาโม่ต่อจนเป็นแป้ง ได้แป้งสาลีสำหรับทำขนมปัง ซาละเปา บะหมี่ โรตี โดนัต เค้ก ปาท๋องโก๋
๓) นวดแป้งสาลีให้เป็นก้อน แล้วเอาไปล้างน้ำจะได้
มี่กึง” (gluten) เอามี่กึงไปต้มสุก จะได้เนื้อเทียม ซึ่งเป็นโปรตีนจากพืชใช้ทำอาหารเจ เช่น แกงลูกชิ้น พะโล้ ได้
๔) ใช้ทำแบะแซ (น้ำเชื่อมขัน) โดยการเพาะเมล็ดข้าวสาลีที่มีความงอดดีในกระบะไม้นาน ๗ วัน เอาต้นกล้าอ่อนไปโขลก คั้นกรองเอาส่วนที่เป็นของเหลว (เอนไซม์) แล้วเอาของเหลวไปเคี่ยวกับปลายข้าวเหนียว หมักไว้ประมาณ ๒ ชั่วโมง แล้วคั้นเอาน้ำเชื่อมข้นออกมา
๕) ใช้ทำซีอิ๊วและเต้าเจี้ยว โดยใช้เมล็ดถั่วเหลืองและเมล็ดข้าวสาลี คั่ว แล้วบดในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน หมักด้วยเชื้อ
Aspergillus sojae
๖) เชื้อชีวิตและรำใช้เป็นอาหารของมนุษย์ได้ มีคุณค่าทางอาหารสูง และมีกากอาหารช่วยการขับถ่ายของลำไส้ใหญ่
๗) เพาะเมล็ดให้งอก แล้วนำไปประกอบอาหารแบบถั่วงอก
๘) ใช้ทำเชื้อเห็ดบางประเภท โดยผสมเมล็ดข้าวสาลีที่นึ่งสุกกับรำละเอียด เอาบรรจุในขวดแบน แล้วเขี่ยเชื้อจากอาหารวุ้นใส่
๙) ใช้เมล็ดสุกหมักกับส่า เพื่อทำเป็นเมรัยหรือกลั่นสุรา
๑๐) ใช้เมล็ดทำข้าวนึ่ง แล้วเอาไปทำอาหาร
๑๑) ฟางใช้เลี้ยงสัตว์กินหญ้า เช่น วัว ควาย ใช้มุงหลังคา ใช้ทำตุ๊กตาฟาง
ลักษณะทั่วไปของข้าวสาลี
ลักษณะของข้าวสาลี
๑) ลักษณะที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต ลักษณะที่มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของข้าวสาลี ได้แก่ ราก ลำต้น และใบ
ราก ข้าวสาลีไม่มีรากแก้วเช่นเดียวกับธัญพืชชนิดอื่น ๆ แต่มีระบบรากฝอยแทน รากของข้าวสาลีนี้แบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือ ราก ดั้งเดิมที่ถือกำเนิดจากเนื้อเยื่อของเชื้อชีวิต (
embryo) เรียกว่า รากจากเมล็ด และรากจาข้อซึ่งถือกำเนิดจากข้อของเหง้าอันเป็นส่วนโคนของลำต้น อยู่ใต้ผิวดินประมาณ ๑ นิ้ว เหง้ามีข้อหลายข้ออยู่ติด ๆ กัน เนื่องจากความยาวของปล้องบริเวณนี้สั้นมาก
ลำต้น ลำต้นของข้าวสาลีแบ่งออกเป็นปล้อง ๆ โดยมีข้อกั้นระหว่างปล้อง จำนวนข้อของลำต้นที่อยู่เหนือดินมี ๕-๗ ข้อ ลำต้นของข้าวสาลีส่วนมากมีปล้องกลวงและข้อตันตันข้าวสาลีจะล้มง่ายในระยะแรก แต่ต้นจะตั้งตรงขึ้นในระยะหลัง นอกจากต้นแม่ซึ่งเป็นส่วนที่เจริญเติบโตโดยตรงจากเนื้อเยื่อของเชื้อชีวิตแล้ว ต้นข้าวสาลียังมีการแตกหน่อ คือการสร้างลำต้นอันดับสองจากข้อต่าง ๆ ที่อยู่ติดดิน เราเรียกลำต้นอับดับสองนี้ว่า ต้นแขนง ข้าวสาลีพันธุ์ปลูกรุ่นเก่ามีความสูงของลำต้น ๑๒๐-๑๔๐ เซนติเมตร ปัจจุบันมีการปลูกข้าวสาลีพันธุ์เตี้ยปานกลาง ซึ่งสูง ๙๐-๑๒๐ เซนติเมตร ข้าวสาลีพันธุ์เตี้ย ซึ่งสูง ๖๐-๙๐ เซนติเมตร ข้าวสาลีพันธุ์เตี้ยปานกลางและพันธุ์เตี้ยมีการตอบสนองต่อปุ๋ยสูง เพราะต้นล้มยาก ฟางน้อย และแข็ง
ใบ ใบของข้าวสาลีประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วนคือ กาบใบ และตัวใบ ที่ข้อต่อระหว่างกาบใบและตัวใบด้านที่อยู่ติดกับลำต้นมีเยื่อบาง ๆ ชนิดหนึ่งยื่นออกมาเรียกว่า สิ้นใบ นอกจากนี้ ยังมี หูใบ โผล่ออกมาที่ข้อต่อใบทั้ง ๒ ข้าง บนหูใบจะมีขนอ่อน ๆ ขึ้นอยู่ โดยปรกติข้าวสาลีจะมีใบ ๗-๙ ใบบนต้นแม่ ใบสุดท้ายเหนือสุดเรียกว่า ใบธง
๒. ลักษณะที่เกี่ยวกับการขยายพันธุ์

รวง
ต้นแม่และต้นแขนงที่สมบูรณ์จะผลิตรวงออกมาที่ยอดต้น รวงมีลักษณะเป็นแท่งมีกลุ่มดอกติดอยู่ที่ข้อของแกนรวง กลุ่มดอกนี้จะเกิดขึ้นสลับกับบนแกนรวงทั้งสองข้าง หากมองด้านข้างจะเห็นปล้องของแกนรวงมีลักษณะยักไปยักมา
รวงข้าวสาลีมีลักษณะต่าง ๆ กัน แล้วแต่รูปร่าง ความสั้นยาวของรวง สีและลักษณะของดอก สีและความสั้นยาวของหาง ความถี่ห่างของกลุ่มดอกที่เกิดขึ้นบนแกนรวง

ดอก ดอกข้าวสาลีที่เรียกว่ากลุ่มดอกนั้นประกอบด้วยกลีบเปล่าจำนวน ๒ อัน อยู่ล่างสุดติดกับแกนรวง ภายในกลุ่มดอกจะมีดอกจำนวน ๒-๕ ดอกติดอยู่ ซ้อนกันขึ้นไปเหนือกลีบเปล่า ดอกแรกภายในกลุ่มดอกอยู่ล่างสุดจะสมบูรณ์รองลงมา ฯลฯ โดยปรกติแล้ว สองหรือสามดอกล่างในแต่ละกลุ่มดอกจะติดเมล็ดดอกจิ๋ว ๆ ที่อยู่ทางปลายภายในกลุ่มดอกจะลีบหมด
ดอกประกอบด้วยกลีบ ๒ อันประกอบกัน คือ กลีบใหญ่ และกลีบเล็ก ที่ปลายสุดของกลีบใหญ่ จะมีลักษณะเป็นปลายแหลมยื่นออกมาเรียกว่า หางข้าวสาลีบางพันธุ์อาจไม่มีหางก็ได้
ส่วนที่อยู่ภายในกลีบใหญ่และกลีบเล็ก ได้แก่ เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียเกสรตัวผู้ประกอบด้วยอับเรณู ซึ่งภายในมีเรณูหรือละอองเกสรขนาดเล็กจำนวนมาก ในดอกที่สมบูรณ์แต่ละดอกจะมีอับเรณูจำนวน ๓ อัน ส่วนเกสรตัวเมียนั้น ประกอบด้วยยอดเกสรตัวเมีย ซึ่งมีลักษณะคล้ายหางกระรอกจำนวน ๒ อัน แต่ละอันมีก้านเชื่อมติดอยู่กับรังไข่
เมล็ด เมื่อเรานวดรวงข้าวสาลีที่สุกแล้ว เราจะได้เมล็ดอยู่ข้างในกลีบใหญ่และกลีบเล็ก ซึ่งกลายเป็นเปลือกใหญ่และเปลือกเล็กเมื่อเมล็ดสุกแก่ เมล็ดที่ได้มีอยู่สองประเภทแล้วแต่ชนิดของข้าวสาลี ประเภทแรกเป็นพวกเมล็ดไม่ติดเปลือก เปลือกใหญ่และเปลือกเล็กจะร่อนหลุดออกขณะที่เรานวดรวงได้เมล็ดเปล่า ๆ ประเภทที่สองเป็นพวกเมล็ดติดเปลือก ในข้าวสาลีประเภทหลังนี้ เมื่อนวดครั้งแรก กลุ่มเมล็ด(จาก ๑ กลุ่มดอก) จะหักหลุดออกจากรวง โดยที่เปลือกใหญ่ เปลือกเล็ก และกลีบเปล่ายังเกาะติดกัน และหุ้มเมล็ดอยู่ เมื่อนำไปนวดอีกครั้งแกลบจะหลุดออกจากกัน ได้เมล็ดเปล่า ๆ ออกมา
ลักษณะภายนอกของเมล็ดข้าวสาลีที่ไม่มีเปลือกแข็งติดอยู่ แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ด้านสันหลังซึ่งเป็นด้านที่ติดอยู่กับเปลือกใหญ่กับด้านท้องซึ่งเป็นด้านที่อยู่ติดกับเปลือกเล็กด้านสันหลังจะมีลักษณะโก่งเป็นสัน ส่วนด้านท้องจะมีลักษณะเป็นร่อง เชื้อชีวิต (
embryo) จะอยู่ที่ปลายทางโคนของเมล็ดทางด้านสันหลัง ส่วนปลายเมล็ดทางยอกนั้น จะมีขนสั้น ๆ ติดอยู่
เราอาจแบ่งส่วนต่างๆ ของเมล็ดข้าวสาลีที่ไม่มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ออกเป็น ๓ ส่วนคือ
๑) รำ (
Wheat bran)
เป็นเยื่อบาง ๆ หุ้มผิวด้านนอกของเมล็ด รำเป็นส่วนที่มีเยื่อใยหรือเรียกว่า เซลลูโลส มาก รำที่อบจนสุกแล้วคนกินได้ มีประโยชน์ในการช่วยให้ลำไส้ใหญ่ขับถ่ายกากอาหารได้ดี
๒) เชื้อชีวิต (
Wheat germ)
หรือคัพภะ คือ ส่วนที่จะเกิดเป็นลำต้นหรือชีวิตใหม่เมื่อเมล็ดงอก เชื้อชีวิตหรือบางทีเรียกว่าจมูกข้าวสาลี มีโปรตีน ไขมัน และเกลือแร่ ในปริมาณสูง เมื่ออบจนสุกแล้ว คนกินได้ เป็นอาหารบำรุงสุขภาพชั้นดี
๓) เนื้อเมล็ด (
Wheat endosperm) คือส่วนเนื้อในของเมล็ดที่รำหุ้มอยู่ แต่ไม่รวมเชื้อชีวิต เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของเมล็ด ซึ่งเมื่อนำส่วนนี้มาบดเป็นแป้ง จะได้แป้งสาลี (Wheat flour)
หรือแป้งหมี่ แป้งสาลีมีคุณค่าทางอาหารสูง มีโปรตีนประมาณ ๘-๑๓ เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรตประมาณ ๖๕-๗๐ เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นเป็นไขมัน เกลือแร่ และเซลลูโลส


การปลูกข้าวสาลี

มี ๒ สภาพตามลักษณะภูมิประเทศ คือ
ก) ปลูกในสภาพไร่
ไม่มีการให้น้ำเป็นการปลูกปลายฤดูฝนในช่วงกลางเดือนตุลาคม อาศัยความชื้นในดินช่วยให้เมล็ดงอกแล้วมีการให้น้ำตลอกฤดูปลูก ข้าวสาลีจะออกรวงในช่วงต้นเดือนธันวาคม เก็บเกี่ยวได้ในต้นเดือนมกราคม
ข) ปลูกในสภาพนา
มีการให้น้ำ เป็นการปลูกในนาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวมาปีแล้ว อยู่ในเขตที่มีการชลประทาน ปลูกในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ข้าวสาลีจะออกรวงในช่วงกลางเดือนมกราคม เก็บเกี่ยวได้ในปลายเดือนกุมภาพันธ์
เราแบ่งการเจริญเติบโตของธัญพืชออกเป็น ๓ ระยะใหญ่ ๆ คือ
๑. ระยะสร้างส่วนของลำต้น (
vegetative phase) นับจากตั้งแต่เมล็ดงอกจนถึงยอกเจริญ (growing point) เริ่มสร้างปฐมรูป (primordium)
ของข้อคอรวง
๒. ระยะที่มีการพัฒนาเป็นรวง (
reproductive phase)
เริ่มตั้งแต่ยอดเจริญเปลี่ยนไปสร้างรวง เกิดการยืดของลำต้น รวงโผล่ แล้วเกิดการผสมเกสร
การเลือกพื้นที่

สภาพดิน
ข้าวสาลีขึ้นได้ในดินร่วนเหนียวถึงร่วนทราย ที่มีความเป็นกรดเป็นด่าง (
pH)
ตั้งแต่ ๕.๕-๘.๕ เราอาจแบ่งระดับความเหมาะสมของดินที่ใช้ปลูกข้าวสาลีได้ดังนี้
ดินที่จัดการได้ง่าย เนื้อดินเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว มีอินทรียวัตถุปานกลางถึงค่อนข้างสูงประมาณ ๑.๕-๒% การระบายน้ำดี ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงค่อนข้างสูง ความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง ๖.๕-๗.๐ ส่วนมากจะเป็นดินที่อยู่ใกล้น้ำ ความชื้นค่อนข้างดี ดินมีการระบายน้ำดี ความลาดเทของพื้นที่ไม่มากนัก (๒-๓%)
ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว มีปริมาณอินทรียวัตถุในดินต่ำ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เป็นดินไร่ที่ใช้สำหรับปลูกพืชไร่ทั่วไป มีความสามารถในการอุ้มความชื้นได้ปานกลาง พื้นที่นี้มักพบปัญหาการขาดน้ำในช่วงปลายฤดูปลูก
ดินที่ต้องการจัดการมาก เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายแป้งจนถึงดินเหนียวปนทรายแป้ง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีการระบายน้ำเลว หากจะนำมาใช้เพาะปลูกข้าวสาลี จะต้องยกแปลงทำร่องระบายน้ำ และใส่ปุ๋ยเพิ่มธาตุอาหารให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตด้วย การลงทุนในพื้นที่นี้จะสูง
การเลือกพันธุ์
จะต้องเลือกพันธุ์ข้าวสาลีให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม รวมทั้งการนำไปใช้ประโยชน์ พันธุ์ข้าวสาลีที่เหมาะสำหรับปลูกในประเทศไทย มีดังนี้
สะเมิง ๑ (
INIA ๖๖) เหมาะสำหรับปลูกในภาคเหนือตอนบน ค่อนข้างต้านทานโรคราสนิมใบ ให้แป้งอเนกประสงค์ที่มีคุณภาพดี มีโปรตีนสูง (๑๒-๑๕%) เหมาะสำหรับทำขนมปัง
สะเมิง ๒ (
Sonora
๖๔) เป็นข้าวสาลีพันธุ์เบา ทนร้อน เหมาะสำหรับปลูกในสภาพไร่อาศัยน้ำฝน และปลูกหลังนาปี ไม่ต้านทานโรคราสนิมใบ แป้งมีความยืดหยุ่นปานกลาง แป้งมีสีคล้ำ มีโปรตีนสูง (๑๒-๑๔%) แป้งใช้ทำขนมปังได้
ฝาง ๖๐ (
#
๑๐๑๕) เหมาะสำหรับปลูกในที่ร้อนและแห้งแล้ง ทั้งในสภาพไร่อาศัยน้ำฝน และสภาพนาชลประทานในภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีช่วงฤดูหนาวสั้น ค่อนข้างต้านทานโรคราสนิมใบ ให้แป้งอเนกประสงค์ โปรตีนปานกลาง (๑๐-๑๑%) เหมาะสำหรับทำคุกกี้ บิสกิต และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ต้องการแป้งที่เหนียวมาก
แพร่ ๖๐ (
UP
๒๖๒) เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทานที่เป็นสภาพนาดินเหนียวปนทราย ภูมิอากาศค่อนข้างหนาวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ค่อนข้างต้านทานโรคราสนิมใบ ให้แป้งอเนกประสงค์ มีโปรตีนปานกลาง (๑๐-๑๑%) เหมาะสำหรับทำคุกกี้ ปาท่องโก๋ โรตี
อินทรี ๑ (
KU HR #
๑๒) เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทาน ใช้ทำแป้งอเนกประสงค์ได้
อินทรี ๒ (
KU HR #
๖) ทนอากาศร้อนและแห้งแล้งได้ดี ใช้ทำแป้งอเนกประสงค์ได้
การเตรียมเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ต้องมีความงอกไม่ต่ำกว่า ๘๐% นำเมล็ดพันธุ์ใส่อ่างแช่ในน้ำสะอาด ตากแดดนาน ๑๕ นาที เอาเมล็ดขึ้นเกลี่ยบนผ้าใบหรือผ้าพลาสติก ตากแดดจนแห้งสนิท แล้ว เอาไปปลูกทันที ห้ามเก็บเมล็ดข้ามวัน ถ้าไม่ทำดังกล่าว จะใช้เมล็ดแห้งปลูกก็ได้ ใช้สารเคมีจำนวน ๒ ชนิด คลุกเมล็ดก่อนปลูก โดยผสมเข้าด้วยกัน ได้แก่
๑. คาร์โบซัลฟาน (
carbosulfan) เป็นสารเคมีป้องกันแมลงที่อยู่ในดิน ใช้ในอัตรา ๕ กรัมต่อน้ำหนักเมล็ดข้างสาลี ๑ กิโลกรัม
๒. คาร์บ็อกซิน (
carboxin)
เป็นสารเคมีป้องกันโรคต้นแห้งอันเกิดจากเชื้อรา ใช้ในอัตรา ๐.๕-๒.๕ กรัมต่อเมล็ดหนัก ๑ กิโลกรัม
การเตรียมพื้นที่ปลูกและการปลูก
แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ ปลูกในสภาพไร่และปลูกในสภาพนา
๑. ปลูกในสภาพไร่
แรงงานที่ต้องการสำหรับการเตรียมแปลงปลูกข้าวสาลี ขึ้นกับปริมาณวัชพืชที่อยู่ในแปลงขณะนั้น ซึ่งโดยทั่วไปคือ ปริมาณวัชพืชหลังจากเก็บเกี่ยวพืชฤดูฝน ในกรณีที่มีวัชพืชค่อนข้างหนาแน่น แรงงานที่ต้องใช้เตรียมแปลงจะค่อนข้างมาก การเตรียมแปลงสำหรับข้าวสาลี ควรเริ่มทันทีที่ทำได้ หลังจากเก็บเกี่ยวพืชฤดูฝนออกจากแปลง ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะ
๑) ป้องกันหรือระงับการเจริญเติบโตของวัชพืช
๒) ปล่อยให้ดินมีโอกาสดูดซับน้ำฝนเก็บไว้ได้ในอัตราสูงสุด
๓) ให้เวลาในการเน่าเปื่อยของอินทรียวัตถุที่เหลือค้างในดิน
ถ้าพื้นที่มีขนาดเล็ก ไถด้วยแรงสัตว์หรือรถไถเดินตาม ถ้าพื้นที่มีขนาดใหญ่ ก็ใช้แทรกเตอร์ใหญ่ไถเมื่อดินยังหมาดอยู่ ไถดะ ๑ ครั้ง หลังจากนั้น ๑-๒ สัปดาห์ ก็ไถแปรหรือไถพรวน เพื่อให้ดินแตกย่อย แล้วปรับพื้นที่ให้เรียบ
๒. ปลูกในสภาพนา
๑) ไม่มีการเตรียมดิน
ก) ตัดตอซังข้าวให้ชิดดิน ปลูกโดยหยอดเมล็ดลงในตอซังข้าว หรือใช้เครื่องหยอดเมล็ดเป็นแถว ระยะระหว่างแถว ๒๐ ซม. อัตราเมล็ด ๒๐ กก./ไร่ แบ่งพื้นที่เป็นแปลง ๆ โดยการขุดร่องน้ำภายในกระทงนา กว้าง ๐.๕ เมตร ความกว้างของแปลงประมาณ ๒.๕-๕ เมตร ความยาวของแปลงตามขนาดของกระทงนา แต่ไม่ควรยาวกว่า ๓๐ เมตร เมื่อหยอดเมล็ดแล้วให้เกลี่ยฟางคลุมดิน
ข) เผาตอซังข้าว แล้วจึงหว่านเมล็ดในกระทงนา แล้วเกลี่ยขี้เถ้ากลบ
๒) พลิกดินน้อยครั้ง
ในสภาพบางพื้นที่ การพลิกดินโดยการไถพรวนมากครั้งเกินไป อาจไม่เหมาะสม จึงอาจไถครั้งเดียว ไม่ยกแปลง หว่านเมล็ดแล้วพรวนดินกลบ หรือ เอาฟางข้าวเกลี่ยกลบ
๓)มีการพลิกดิน
การกำจัดวัชพืช
การปลูกข้าวสาลีโดยอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว เกษตรกรจะพึ่งพาได้แต่เพียงเฉพาะน้ำในดินที่จะเหือดแห้งไปเรื่อย ๆ วัชพืชเป็นตัวสำคัญที่จะแก่งแย่งน้ำในดินและปุ๋ยจากข้าวสาลี วัชพืชยังเป็นตัวที่ทำให้การเก็บเกี่ยวมีความยากลำบากขึ้น ต้องพยายามรักษาแปลงให้ปราศจากวัชพืชในช่วง ๔ สัปดาห์แรก หลังจากนั้น ข้าวสาลีจะตั้งตัวแล้ว สามารถปกคลุมวัชพืชไม่ให้แย่งน้ำและปุ๋ยได้ โดยปกติ การกำจัดวัชพืชโดยแรงคนเพียงครั้งเดียว ในช่วง ๒ สัปดาห์แรกหลังปลูกจะพอเพียงในการป้องกันและกำจัดวัชพืชในข้าวสาลี ในสภาพที่มีการชลประทาน เมื่อทำการหยอดเมล็ด ทดน้ำเข้าแปลงแล้ว ต้องป้องกันมิให้วัชพืชงอก โดยพ่นสารเคมีให้ทั่วผิวหน้าดินภายในเวลา ๓ วันหลังปลูก เพื่อทำลายเมล็ดวัชพืชที่อยู่บนผิวดิน สารเคมีที่ใช้พ่นมีดังนี้
ตำรับที่ ๑ ใช้บิวตาคลอร์ (
Butachlor) จำนวน ๐.๔ ลิตร ผสมน้ำ ๕๐ ลิตร พ่นได้ ๑ ไร่
ตำรับที่ ๒ ใช้รอนสตาร์ (
Ronstar)
จำนวน ๐.๕ ลิตร ผสมน้ำ ๕๐ ลิตร พ่นได้ ๑ ไร่
การให้น้ำ
ข้าวสาลีเป็นพืชที่ไม่สามารถทนต่อสภาพน้ำขัง หรือดินเปียกชื้นได้ยาวนาน การให้น้ำข้าวสาลีทันทีหลังจากหยอดเมล็ดจึงค่อนข้างอันตราย ถ้าปลูกในสภาพความชื้นเหมาะสม การให้น้ำครั้งแรกกระทำเมื่อข้าวสาลีงอกได้ประมาณ ๒ สัปดาห์ ซึ่งในเวลานั้นข้าวสาลีตั้งตัวได้เป็นอย่างดีแล้ว การให้น้ำแต่ละครั้งควรให้ทั่วสม่ำเสมอทั้งแปลง และปล่อยน้ำไว้ในร้องน้ำมานานจนมั่นในว่าน้ำซีมเข้าสู่ดินเป็นอย่างดีผลตามมาคือ การเจริญเติบโตของระบบรากที่ดี ไม่ควรปล่อยน้ำขังนานเกินไปจนทำให้ดินแฉะหรืออิ่มตัว ข้อสังเกต หลังจากการให้น้ำแต่ละครั้ง ถ้ามีการปฏิบัติดี ดินจะดูดซับน้ำหมดทำให้ไม่มีน้ำเหลืออยู่ในแปลงหลังจากให้น้ำ ๒๔ ชั่วโมง
ธาตุอาหารที่พืชต้องการ
ไนโตรเจน มีหน้าที่หลักในการสร้างสีเขียวของพืช คือ คลอโรฟีลล์ ซึ่งเป็นตัวปรุงอาหาร ไนโตรเจนยังสร้างความเจริญเติบโตให้กับต้นและเมล็ด ทำให้พืชแตกกอดี มีเมล็ดมากและสมบูรณ์ หากพืชขาดไนโตรเจน ใบจะมีสีเหลือง และซีดจากปลายใบเข้ามา ต้นจะแคระแกร็น ผลิตผลต่ำ
ข้าวสาลี เป็นพืชที่ตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนมาก การตอบสนองนี้จะสังเกตเห็นได้ชัดเจนแม้มีการให้ปุ๋ยในอัตราต่ำ
ฟอสฟอรัส เป็นธาตุที่ช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยให้รากและลำต้นแข็งแรง ไม่ล้มง่าย ผลิตผลมีคุณภาพดี ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคบางชนิดให้กับพืชอีกด้วย หากขาดฟอสฟอรัสรากจะไม่เจริญเท่าที่ควร ลำต้นแคระแกร็น รวงเล็ก ไม่สมบูรณ์
ในสภาพการปลูกพืชโดยอาศัยน้ำฝนอย่างเดียว การเจริญเติบโตของระบบรากมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ข้าวสาลีมีความสามารถในการใช้ความชื้นและธาตุอาหารต่าง ๆ จากดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดินที่ออกสีแดงในที่สูงส่วนมากพบว่าขาดฟอสฟอรัส
โพแทสเซียม มีหน้าที่หลักในการช่วยสร้างน้ำตาล แป้ง และเซลลูโลส ช่วยให้รากของพืชดูดน้ำได้ดียิ่งขึ้น พืชที่ขาดโพแทสเซียมจะเจริญเติบโตช้าให้ผลิตผลต่ำ คุณภาพผลิตผลก็ด้อย
กำมะถัน เป็นธาตุที่ช่วยสร้างโปรตีน ทำให้แป้งมีคุณภาพดี หากขาดธาตุนี้ จะทำให้การยืดลำต้นไม่ดี แตกกอน้อย ใบเหลืองซีด แป้งมีคุณภาพไม่ดี
โบรอน เป็นธาตุที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหารที่ได้จากการสังเคราะห์แสง และมีหน้าที่ในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิกและโปรตีนเกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของออกซิเจนและแคลเซียมและการใช้ฟอสเฟตในพืช

การเก็บเกี่ยว

เมล็ดข้าวสาลีจะแก่จัดพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ภายใน ๓๐-๔๕ วันหลังจากออกรวง ซึ่งเป็นระยะที่ลำต้นและรวงมีลักษณะแห้ง ปลายรวงจะชี้ลงดินข้อที่ลำต้นหมดสีเขียว เมล็ดแข็งเมื่อลองใช้ฟันขบเมล็ดดู จะเห็นว่าเมล็ดเปราะเกี่ยวโดยใช้เคียวตัดลำต้น มัดเป็นกำขนาดประมาณ ๑๕-๒๐ เซนติเมตร วางกำข้าวสาลีพิงกัน โดยให้รวงอยู่ข้างบน กองกนึ่งมีข้าวสาลีประมาณ ๑๒-๑๕ กำ วางกองข้าวสารบนพื้นดินแห้ง ทิ้งช่องระหว่างกองพอสมควร ควรวางกองให้อยู่เป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เพื่อความสะดวกในการดูแล ตากแดดไว้ประมาณ ๓-๕ วัน
เมื่อตากแดดได้ที่แล้วจึงนวด วิธีนวดก็คือ ฟาดกำข้าวสาลีกับกระบุงขนาดใหญ่ ที่มีใช้กันอยู่ทางภาคเหนือ ใช้ไม้ตีกำข้าวที่วางอยู่บนพื้น หรือใช้สัตว์ย่ำ หรือทำยกพื้นขึ้นมาก วางกำข้าวสาลีบนยางรถยนต์ แล้วใช้ไม้ตี หรือนวดด้วยเครื่อง เมื่อนวดแล้ว เมล็ดกับเปลือกจะหลุดออกจากกัน ต่อจากนั้น ใช้กระด้งฝัดเมล็ดให้สะอาด ควรหาเสื่อรองพื้น ระวังขี้ดินปนติดมา
เมื่อนวดได้เมล็ดข้าวสาลีแล้ว จะต้องนำเมล็ดไปตากแดดอีก ให้เกลี่ยเมล็ดข้าวสารบนพื้นลาดตากในวันที่มีแดดจัด อุณหภูมิของเมล็ดบนลานจะต้องขึ้นสูงถึง ๕๐ ๕๒ ๕๒ องศาเซสเซียส เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า ๒ ชั่วโมง จากนั้น รวมเมล็ดให้เป็นกอง โดยอุณหภูมิของเมล็ดในกองไม่ต่ำกว่า ๔๖ องศาเซสเซียส ทิ้งกองไว้ประมาณ ๓ ชั่วโมง ความชื้นของเมล็ดจะต่ำกว่า ๑๒ % แล้วนำเมล็ดไปเก็บในถังพลาสติกหรือถังเหล็ก ซึ่งไม่มีอากาศถ่ายเท ถ้าจะให้ดีควรเป็นยุ้งคอนกรีต ฉาบตัวยุ้งและคลุมกองเมล็ดด้วยวัสดุกันความชื้นและเป็นตัวฉนวนถ่ายเทความร้อน เพราะอุณหภูมิของเมล็ดที่เก็บไว้ในสัปดาห์แรกไม่ควรต่ำกว่า ๔๐ องศาเซสเซียส






แหล่งกำเนิดข้าวสาลี
จากการสำรวจแหล่งพันธุกรรมของข้าวสาลี และการขุดซากพืชจากชุมชนโบราณทำให้ทราบว่าแหล่งกำเนิดของข้าวสาลีอยู่ในเขตเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน อิรัก ตรุกี ซีเรีย เลบานอน อิสราเอล และจอร์แดน ข้าวสาลีที่เป็นพันธุ์ป่านั้น มีลักษณะของเมล็ดและรวงที่สามารถแพร่พันธุ์ไปได้เอง คือเมล็ดมีเปลือกหุ้มและรวงเปราะ เมื่อข้าวสุกเต็มที่ ส่วนพันธุ์ปลูกที่เกิดจากการคัดเลือกของมนุษย์นั้น ส่วนใหญ่มีลักษณะไม่ติดเปลือกและก้านรวงเหนียว ไม่หักออกจากกันเมื่อแก่
ข้าวสาลีที่มีอยู่ในธรรมชาตินั้น อาจแบ่งออกเป็นพวก ๆ ได้ตามจำนวนโครโมโซมของพืช ได้แก่พวก
ก. ดิพพลอยด์ (
diploid) มีโครโมโซม ๗ คู่
ข. เตตราพลอยด์ (
tetraploid)
มีโครโมโซม ๑๔ คู่
ค. เฮกศาพลอยด์ (
hexaploid)
มีโครโมโซม ๒๑ คู่
ข้าวสาลีพันธุ์ที่โบราณที่สุดเป็นพวกดิพพลอยด์ มนุษย์ใช้เป็นอาหารเมื่อประมาณ ๑๐
,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดยมีการค้นพบซากเมล็ดข้าวสาลีชนิดนี้ในเขตซีเรียเหนือ ซึ่งเป็นพวกมีลักษณะรวงเปราะและเมล็ดติดเปลือก มนุษย์คงเก็บข้าวสาลีพวกนี้จากที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ ระยะต่อมา (ประมาณ ๙,๐๐๐ ,
๕๐๐ ปีมาแล้ว) ได้มีการปลูกข้าวสาลีดิพพลอยด์ที่มีลักษณะดีขึ้นกว่าเดิม คือ เมล็ดติดเปลือกและก้านรวงเหนียวข้าวสาลีชนิดนี้ได้แพร่กระจายออกไปยังแหลมบอลข่าน ลุ่มแม่น้ำดานูบ และลุ่มแม่น้ำไรน์ ครั้งถึงยุดสัมฤทธิ์และยุคเหล็กตอนต้น ข้าวสาลีชนิดนี้ได้แพร่หลายไปในยุโรปและตะวันออกใกล้
ในยุคต่อมา ข้าวสาลีในธรรมชาติได้มีวิวัฒนาการไปเป็นพวกเตตาพลอยด์ โดยในขั้นแรกเป็นพวกเมล็ดติดเปลือก และรวงเปราะแล้วกลายเป็นชนิดเมล็ดติดเปลือกแต่ก้านรวงเหนียว ข้าวสาลีชนิดนี้แพร่หลายไปกว้างขวางมาก พบว่ามีปลูกในอิรักเมื่อ ๘
,๐๐๐ ปีก่อน และขยายไปสู่อียิปต์ ยุโรป เอเซียกลาง และอินเดีย เมื่อ ๖,๐๐๐ ,๐๐๐ ปีมาแล้ว และมีปลูกในเอธิโอเปียเมื่อ ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว ต่อมาเมื่อ ๓,
๐๐๐ ปีก่อน ได้เกิดข้าวสาลีชนิด เตตราพลอยด์ ซึ่งเมล็ดไม่ติดเปลือก
ข้าวสาลีชนิดที่เกิดขึ้นล่าสุดในวิวัฒนาการนั้น เป็นพวกเฮกซาพลอยด์ ซึ่งได้มีการขุดค้นพบซากข้าวสาลีชนิดนี้ในซีเรียเมื่อ ๙
,
๐๐๐ ปีมาแล้ว ข้าวสาลีชนิดนี้มีการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดีกว่า พวกดิพพลอยด์และเตตราพลอยด์จึงมีการปลูกแพร่หลายในส่วนต่าง ๆ ของโลกในปัจจุบัน
ประวัติข้าวสาลีในประเทศไทย
จากหลักฐานที่ปรากฏ คนไทยเริ่มรู้จักใช้แป้งสาลีประกอบอาหารในสมัยกรุงศรีอยุธยาจากจดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยามของบาทหลวงตาชาร์ด เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๒๘ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวว่า ขนมปังหาซื้อได้ยากและมีราคาแพง เพราะต้องซื้อแป้งสาลีจากเมื่อสุหรัด (ประเทศอินเดีย) หรือจากญี่ปุ่น ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๙ ใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ กัปตันเทาน์เซนต์ แฮริส ได้บันทึกไว้ว่า ต้องนำแห้งสาลีมาจากฮ่องกง เพื่อใช้ทำขนมปังสำหรับงานเลี้ยงในพระบรมมหาราชวังเพราะจะหาขนมปังและแป้งสาลีที่กรุงเทพฯ ไม่ได้
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ นายอาริยันต์ มันยีกุล ข้าราชการกรมเกษตรฯ ไปราชการที่จังหวัดแพร่ในระหว่างฤดูหนาว ได้สังเกตสภาพภูมิประเทศแล้ว เห็นว่าน่าจะปลูกข้าวสาลีได้ นายอาริยันต์จึงได้ทดลองปลูกข้าวสาลีจำนวน ๔ พันธุ์จากออสเตรเลียและจากภาคกลางของอินเดีย โดยปลูกที่โรงเรียนกสิกรรมจังหวัดแพร่และที่ตำบลบ้านหนองวังดิน อำเภอบ้านกลางจังหวัดแพร่ ปรากฎว่าข้าวสาลีขึ้นงอกงามดีนายอาริยันต์มีความเห็นว่าควรส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวสาลีในประเทศไทย เพื่อเป็นการออกมเงินของประเทศ
พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๗ พระยาพหลพลพยุหเสนา นำพันธุ์ข้าวสาลีมาจากญี่ปุ่นจำนวน ๔ พันธุ์ ในระยะนี้ได้มีการทดลองปลูกข้าวสาลีที่สถานีกสิกรรมฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในระหว่างสงครามเอเชียบูรพา เป็นระยะที่ประเทศไทยกำลังขาดแคลนแป้งสาลีอย่างมาก ร.ท.ขุนณรงค์ชวนกิจ (ชวน ณรงคะชวนะ) ได้พยายามจะจัดตั้งบริษัทปลูกข้าวสาลีและโรงงานโม่แป้งสาลีขึ้นที่อำเภอฝาง โดยได้ติดต่อกับแหล่งขายเมล็ดพันธุ์ข้าวสาลีและเครื่องจักรโม่แป้งไว้แล้วจากญี่ปุ่นแต่ไม่มีผู้ใดสนใจด้วย เรื่องจึงไม่สำเร็จ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เริ่มงานวิจัยข้าวสาลีตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งในสมัยแรกนั้นได้แต่งตั้งให้ ดร. ครุย บุณยสิงห์ เป็นหัวหน้าโครงการ ในปัจจุบันข้าวสาลีเป็นพืชเศรษฐกิจที่อยู่ในแผนการปลูกเพื่อทดแทนการนำเข้า งานวิจัยและส่งเสริม อยู่ในความรับผิดชอบและประสานงานของหน่วยงานหลายแห่งในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ และภาคเอกชน

แหล่งปลูกและผลผลิต
ข้าวสาลีมีปลูกอยู่ทั่วโลก แต่เราอาจแบ่งแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญออกเป็นเขตได้ดังนี้คือ
๑. เขตประเทศรัสเชีย
๒. เขตประเทศในทวียุโรป
๓. เขตทวีปอเมริกาเหนือ
๔. เขตทวีปอเมริกาใต้
๕. เขตตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย
๖. เขตภาคเหนือและภาคกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน
๗. เขตภาคเหนือของประเทศปากีสถานและอินเดีย
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๓-๓๔ พื้นที่เก็บเกี่ยวข้าวสาลีทั้งโลกมี ๑
,๔๔๖ ล้านไร่ ได้ผลิตผลรวม ๕๘๗ ล้านต้น ผลิตผลเฉลี่ย ๔๐๖ กิโลกรัม/ไร่ ประเทศไทยปลูกข้าวสาลีประมาณ ๕,๐๐๐ ไร่ ได้ผลิตผลรวมประมาณ ๕๖๐ ตัน
การบริโภคข้าวสาลี
ปริมาณการบริโภคอาหารของคนชาติใดชาติหนึ่งนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับสาเหตุหลายประการ เช่น สภาพเศรษฐกิจ ดินฟ้าอากาศ การศึกษา จำนวนพลเมือง ความสามารถในการผลติ และวัฒนธรรม เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าธัญพืชที่ใช้เป็นอาหารหลักของคนไทย คือ ข้าว รองลงไป ได้แก่ ข้าวสาลี และข้าวโพด คนไทยแต่ละคนบริโภคข้าวประมาณปีละ ๑๖๓ กิโลกรัม ส่วนข้าวสาลีนั้นได้เพิ่มจากปีละ ๑.๒ กิโลกรัม ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ เป็นปีละ ๖.๐ กิโลกรัมใน พ.ศ. ๒๕๓๒ ส่วนข้าวโพดนั้นบริโภคประมาณปีละ ๑ กิโลกรัม
ข้าวและข้าวโพดนั้น เราผลิตได้มากพอจนถึงขนาดส่งเป็นสินค้าออกได้ ส่วนข้าวสาลีนั้นเรายังผลิตได้ไม่เพียงพอ และต้องสั่งซื้อเข้ามาจากต่างประเทศปีละเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากตัวเลขการนำเข้า ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ประเทศไทยนำเข้า ๑๕๗
,๐๐๐ ตัน มูลค่า ๗๑๘ ล้านบาท ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้นำเข้าเพิ่มขึ้นเป็น ๓๒๖,๐๐๐ ตัน มูลค่า ๑,๙๖๔ ล้านบาท

ข้าวหอมมะลิ
ข้าวหอมมะลิ  เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย จัดเป็นข้าวนาปี ปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ลักษณะข้าวเปลือกเรียวยาว เมื่อสีเป็นข้าวสารจะได้ข้าวเมล็ดเรียว ยาว ขาวใสเป็นเงา แกร่ง มีท้องไข่น้อย มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมบริโภคอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นพันธุ์ข้าวที่สร้างชื่อเสียงให้ข้าวไทยเป็นที่รู้จักทั่วโลก
ข้าวหอมมะลิ
แหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญของไทยประเทศไทยถือเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีที่สุดแห่งหนึ่ง โดยมีแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (เขตทุ่งกุลาร้องไห้) และมีพื้นที่เพาะปลูกครอบคลุมกว่า 19 ล้านไร่ทั่วประเทศ โดยมีแหล่งผลิตสำคัญ คือ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด รองลงมาคือภาคเหนือ เนื่องจากสภาพดินฟ้า-อากาศและพื้นที่เพาะปลูกของทั้งสองภาคคล้ายคลึงกัน เหมาะแก่การเจริญเติบโตของข้าวหอมมะลิ กล่าวคือ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดอน ฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ชาวนาจะเริ่มหว่านไถ ในเดือนมิถุนายน และเพาะปลูกอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม สิงหาคม เมื่อฝนเริ่มหมด ปลายเดือนตุลาคมจนถึงต้นเดือนพฤศจิกายน จึงเริ่มเก็บเกี่ยวช่วงเดือนพฤศจิกายนความชื้นจะน้อยเพราะเป็นช่วงที่ลมหนาวจากเมืองจีนเริ่มพัดเข้ามาในสองภาคนี้ ทำให้อากาศแห้งเหมาะในการเก็บเกี่ยว การตาก การนวด ก็ทำได้ง่าย เพราะน้ำแห้งนาหมดแล้ว ไม่มีฝน จึงทำให้ได้เมล็ดข้าวที่มีคุณภาพ สำหรับการปลูกข้าวหอมจะทำกันได้ดีเฉพาะที่ที่เป็นนาดอนเสียเป็นส่วนใหญ่
ประเภทของข้าวหอมมะลิกระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าต่างประเทศ) ได้แบ่งประเภทของ ข้าวหอมมะลิไทย ออกเป็น 2 ประเภท คือ ข้าวขาว (8 ชนิด) และข้าวกล้อง ( 6 ชนิด)
ข้าวขาวแบ่งออกเป็น 8 ชนิด ดังนี้
ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1
ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2 (มีปริมาณส่งออกมากที่สุด)
ข้าวขาว 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 3
ข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์
ข้าวขาว 10 เปอร์เซ็นต์
ข้าวขาว 15 เปอร์เซ็นต์
ข้าวขาวหักเอวันเลิศพิเศษ
ข้าวขาวหักเอวันเลิศ
ข้าวกล้องแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้
ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 1
ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 2
ข้าวกล้อง 100 เปอร์เซ็นต์ ชั้น 3
ข้าวกล้อง 5 เปอร์เซ็นต์
ข้าวกล้อง 10 เปอร์เซ็นต์
ข้าวกล้อง 15 เปอร์เซ็นต์
ประโยชน์จากข้าวหอมมะลิ

คนไทยรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักมาช้านานข้าวไทยมีมากมายหลายชนิดให้เลือกรับประทานตามความชอบของแต่ละบุคคลแต่มีข้าวไทยชนิดหนึ่งที่หลายคนอาจจะคิดว่าหารับประทานได้ยากเพราะเนื่องด้วยราคาข้าวหอมมะลิมักจะถูกมองว่าจะอยู่ในกลุ่มผู้มีฐานะและร้านอาหารหรูหราเท่านั้น
ซึ่งข้าวชนิดนี้ถูกขนามนามว่าข้าวหอมมะลิ ที่ถือได้ว่ามีคุณค่าทางสารอาหารและคุณค่าทางเมล็ดข้าวโดยเฉพาะข้าวที่มีชื่อว่าข้าวสีนิลเป็นข้าวที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างลูกของข้าวเจ้าหอมนิล กับ ข้าวขาวดอกมะลิ 105
โดยการบริโภคข้าวไทยในปัจจุบันคนไทยอาจไม่รู้และไม่เคยทราบว่าคนไทยบริโภคข้าวโดยเฉลี่ย 100 กิโลกรัมต่อปีต่อคนถ้าเราซื้อข้าวทั่วไปกิโลกรัมละ 15 บาท เราก็บริโภคข้าว 1
,500 บาทต่อปี ซึ่งน้อยมากถ้าเรามาบริโภคข้าวหอมมะลิ กิโลกรัมละ 24 บาท ก็ 2,400 บาทต่อปี เพิ่มขึ้นมาเพียง 1,000 บาท หนึ่งพันนี้ไปอยู่กับชาวนาที่ได้ราคาข้าวที่ดีขึ้น
ดังนั้น
ข้าวไทยถือเป็นสุดยอดของคุณภาพระดับโลกไม่มีประเทศไหนที่มีข้าวหอมมะลิเหมือนอย่างประเทศไทยไม่มีประเทศไหนที่มีข้าวเมล็ดยาวที่มีกลิ่นหอม ซึ่งเราตั้งชื่อว่าข้าวหอมมะลิถ้าพวกเราคนไทยร่วมกันบริโภคข้าวหอมมะลิมากขึ้น เกษตรกรก็จะปลูกข้าวหอมมะลิมากขึ้นเขาก็จะมีรายได้สูงขึ้น และจะรักษาคุณภาพของข้าวได้ในระยะยาวถ้าเราพึ่งแต่ตลาดส่งออก แล้วคนไทยในประเทศไม่บริโภคข้าวหอมมะลิเกิดตลาดส่งออกมีปัญหา ข้าวก็ขายไม่ออกแต่ถ้าคนไทยบริโภคข้าวหอมมะลิเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ส่งออกมากส่งออกน้อยตลาดของผู้ผลิตก็ไม่มีปัญหา
ซึ่งปัจจุบันข้าวหอมมะลิที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลายคือพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข.15 แต่ราคาข้าวหอมมะลิค่อนข้างตกต่ำลงมาเรื่อยๆ เนื่องจากข้าวพันธุ์ปทุมธานี1 ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวหอมมะลิ 105 โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 80-100 ถังต่อไร่ปลูกได้หลายครั้งต่อปี และสามารถปลูกได้ดีในที่ลุ่มบริเวณที่ราบภาคกลางขณะที่ข้าวหอมมะลิ 105 ให้ผลผลิตต่อไร่เพียง 30-40 ถังและปลูกได้ดีในบางพื้นที่เท่านั้นทางรัฐบาลจึงส่งเสริมให้ชาวนาเน้นการปลูกข้าวพันธุ์ ปทุมธานี 1 มากกว่าซึ่งข้าวพันธุ์
ปทุมธานี 1
แม้ว่าจะมีความหอมคล้ายข้าวหอมมะลิ แต่ ไม่ใช่
ข้าวหอมมะลิ
นอกจากนี้เกรดในการจำหน่ายข้าวหอมมะลิที่ได้รับอนุญาตจาก กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ ยังแบ่งชั้นข้าวหอมมะลิออกเป็น ข้าวหอมมะลิชั้น 1 (ดีพิเศษ)มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 5% ข้าวหอมมะลิชั้น 2 (ดี) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 15% ข้าวหอมมะลิชั้น 3 (ธรรมดา) มีข้าวชนิดอื่นปนได้ไม่เกิน 30% ผู้บริโภคซึ่งต้องการข้าวหอมมะลิแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์จึงยังอาจไม่ถูกใจเมื่อซื้อไปหุงรับประทาน
ข้าวหอมมะลิถือได้ว่ามีคุณค่าทางสารอาหารและคุณค่าทางเมล็ดข้าวโดยเฉพาะข้าวเมล็ดสีม่วงเข้มจนเกือบดำที่กำลังมีผู้ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆมีชื่อว่าข้าวสีนิล เป็นข้าวที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างลูกของข้าวเจ้าหอมนิล กับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทำให้ได้ข้าวพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะเป็นเมล็ดเรียวยาว สีม่วงเข้มกลิ่นหอม เรียกว่าข้าวสีนิลและเป็นข้าวหอมมะลิ เมื่อหุงสุกมีสีม่วงอ่อนเมล็ดข้าวมีความนุ่มและมีกลิ่นหอมคุณสมบัติพิเศษคือมีโปรตีนสูงเป็นสองเท่าของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และยังประกอบไปด้วยธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง แคลเซียม
โพแทสเซียมและวิตามินบีหลายชนิด
ซึ่งการวิเคราะห์สีม่วงดำของข้าวสีนิล พบว่าเป็นสีที่มีสารกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ (
Flavonoid)
ที่เรียกว่า สารแอนไทไซยานินซึ่งเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ในปริมาณที่สูงกว่าที่พบในองุ่นแดง ลูกพรุน
โดยคุณค่าทางอาหารของข้าวอยู่ที่เยื่อหุ้มเมล็ดและสีของข้าวการบริโภคข้าวสีนิลจึงเป็นวิถีทางหนึ่งของการบริโภคเพื่อสุขภาพเยื่อใยของเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และกระเพาะอาหารช่วยป้องกันการดูดซึมไขมันชนิดอิ่มตัวเข้าสู่กระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดีสารแอนไทไซยานินช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ลดไขมันอุดตันในเส้นเลือดบรรเทาโรคเบาหวาน บำรุงสายตายับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม-ปอด-กระเพาะอาหาร-เม็ดเลือดขาว



ลักษณะของข้าวหอมมะลิ

ข้าวหอมมะลิหรือข้าวดอกมะลิ เป็นข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสง หมายถึง พันธุ์ข้าวจะออกดอกในวันที่กลางคืนยาวกว่ากลางวันเท่านั้น คือ ช่วงฤดูหนาวทำให้สามารถปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น ส่วน
ชื่อเรียกว่าข้าวหอมมะลินั้นมีที่มาจากสีของข้าวที่ขาวเหมือนดอกมะลิ แต่มีกลิ่นหอมเหมือนใบเตย ไม่ได้หมายความว่าข้าวนั้นหอมเหมือนมะลิ ลักษณะที่สำคัญของข้าวหอมมะลิ คือ เมื่อหุงหรือนึ่งสุกแล้วเมล็ดข้าวสุกจะอ่อนนิ่มมากกว่าข้าวเจ้าทั่วไป แต่ร่วนน้อยกว่าและมีกลิ่นหอม
ข้าวที่ปลูกเพื่อใช้เป็นข้าวหอมมะลิมี 2 พันธุ์ ได้แก่ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และกข.15 ซึ่งข้าวกข. 15 ก็คือข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่นำไปอาบรังสีแกมม่าทำให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 4-6 % ซึ่งข้าวทั้งสองพันธุ์นี้มีลักษณะ คือ เมล็ดข้าวจะฟักตัวในเวลาประมาณ 8 สัปดาห์ เมล็ดมีเปลือกสีน้ำตาล ยาว 7.4 มม.รูปร่างเรียว เมื่อข้าวสุกจะหอมนุ่ม มีอะมิโลส(
amylose) 14-17 % ปลูกได้ในที่นาดอนทั่วไป ทนแล้ง ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ต้านทานไส้เดือนฝอยรากปม ไม่ต้านทานโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหนอนกอ
มีคุณสมบัติการหุงต้มแบบข้าวขาวดอกมะลิ เมล็ดมีกลิ่นหอม เพาะปลูกได้ทั้งปี ทนอยู่ภายใต้สภาพน้ำท่วมขังได้นานถึง 2 สัปดาห์ เหมาะต่อการเพาะปลูกในพื้นที่ทำนาภาคกลาง ที่เกิดน้ำท่วมได้ง่าย ทนต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคขอบใบแห้ง ให้ผลผลิตข้าวเปลือก 900-1000 กิโลกรัมต่อไร่ มีลักษณะประจำพันธุ์อันโดดเด่นดังนี้ ทนต่อน้ำท่วมแบบฉับพลันในทุกระยะการเจริญเติบโต
,มีความสูง105-110 เซนติเมตร ,ไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ทั้งปี มีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วัน ใบยาวและกว้างปานกลาง ลำต้นและใบเขียว ใบธงทำมุมกับคอรวง ทรงกอตั้ง แบะเล็กน้อย เมล็ดข้าวกว้าง2.5 ยาว10.9 หนา 2.0 มม ข้าวเปลือกเมื่อสุกแก่มีสีฟางคล้ายพันธุ์หอมมะลิ 105 มีจำนวนรวงต่อกอ ในนาดำ ประมาณ 15 รวง รวงยาว 15 เซนติเมตร มีปริมาณอะไมโลสในเมล็ดข้าว 18% หุงต้มสุกได้ที่อุณฟถูมิ 74 องศาเซลเซียส

วิธีปลูกข้าวหอมมะลิ
การปลูกข้าวหอมมะลิ นับว่าเป็นพืชเงินพืชทองเลยทีเดียว สำหรับปัจจุบันนี้ เพราะราคาเกวียนหนึ่งสูงถึง 10,000-12,000 บาท ซึ่งไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์ของราคาข้าวไทย ปัจจุบันนี้รัฐบาลไม่ต้องมาคอยกังวล กับมาตรการประกันราคา กำหนดราคาข้าวเปลือกอีกแล้ว เพราะขณะนี้ตลาดข้าวหอมมะลิเป็นของผู้ปลูกไปซะแล้ว ดังนั้น การปลูกข้าวหอมมะลิให้ได้ผลผลิตสูง เพื่อจะได้นำเงินดอลลาร์เข้าประเทศซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่น่าสนใจนัก แต่เรา สามารถปลูกข้าวหอมมะลิให้ได้ผลผลิตสูงเป็น 100 ถัง เหมือนข้าวนาปรัง มาครับพี่น้องเกษตรกรถ้าสนใจก็เชิญติดตามมานะครับ
มาดูหลักการก่อนอื่น การที่จะปลูกข้าวให้ได้ 100 ถัง หมายความว่า ใน 1 ตารางเมตร ต้องมีต้นข้าว 250 ต้น
250 รวง แต่ละรวงมีเมล็ดดี 100 เมล็ด จึงจะได้ข้าวหนัก 1
,
000 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนวิธีการมีดังนี้
ต้องไม่ให้ต้นข้าวล้ม ดังนั้น ต้นข้าวจะต้องไม่สูงมาก สามารถทำได้โดยการกำหนดช่วงเวลาปลูกที่เหมาะสม ไม่เร็ว หรือช้าเกินไป คือระหว่าง 1-31 กรกฎาคม โดยถ้าเป็นนาดำ ก็ตกกล้าต้นกรกฎาคม และปักดำต้นเดือนสิงหาคม ถ้าเป็นนาหว่านก็หว่านระหว่าง 15 กรกฎาคม-15 สิงหาคม และในระยะแตกกอไม่ควรให้ระดับน้ำสูง ควรจะทำให้มีน้ำน้อย ประมาณ 10 เซนติเมตร
อัตราเมล็ดพันธุ์ที่ใช้หว่าน ควรใช้ประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ถ้าข้าวมีความงอก 80 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ใช้เมล็ดพันธุ์ 12.5-15 กิโลกรัมต่อไร่ก็พอ เพราะจะได้ต้นข้าว 300-400 ต้นต่อไร่ แต่ถ้าปลูกโดยวิธีปักดำควรใช้ระยะปักดำ 20
×
20 เซนติเมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นหรือรวงต่อกอ 5-6 รวง จำนวนกอต่อตารางเมตร 25 กอ
ควบคุมและกำจัดวัชพืชให้ได้ผล โดยเฉพาะในนาหว่าน แต่ถ้ารักษาระดับน้ำไว้ได้ก็คงไม่มีปัญหาวัชพืชมากนัก
ควบคุมโรคแมลงไม่ให้ระบาด ทำความเสียหายโดยมีการตรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดต้องรีบกำจัด โดยเฉพาะในระยะข้าวออกรวง หากมีสภาพอากาศเย็นความชื้นสูง ไม่มีแดด ต้องระวังการระบาดของโรคไหม้ ควรฉีดยากำจัดเชื้อราเพื่อป้องกันไว้ก่อน
การใส่ปุ๋ย ควรมีการใส่ปุ๋ยเคมี 3 ครั้ง ดังนี้
ในระยะแตกกอ ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง เพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโต สม่ำเสมอทั้งแปลง โดยใช้สูตร 16-16-8 สำหรับดินทราย 16-20-0 สำหรับดินเหนียว ไร่ละ 15-25 กิโลกรัม โดยนาดำให้ใส่หลังปักดำ 5-6 วัน นาหว่าน ใส่เมื่อเอาน้ำเข้านาหลังหว่านข้าว 7-10 วัน ครั้งที่ 2 ใช้สูตรเดียวกัน อัตราๆร่ละ 5-10 กิโลกรัม โดยใส่ในช่วงหลังจากใส่ครั้งแรก 15 วัน
การใส่ปุ๋ยในช่วงเริ่มสร้างดอกอ่อน ก่อนใส่ปุ๋ยควรดูต้นข้าวก่อนว่าแสดงอาการขาดปุ๋ยหรือไม่ ถ้าสีของใบเขียวเข้ม ใบยังตกอยู่ให้เลื่อนการใส่ปุ๋ยออกไปจนกว่าต้นข้าวแสดงอาการขาดปุ๋ย คือ สีของใบซีดลง หรือออกสีเขียวเหลือง ใบค่อนข้างตั้ง ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ไร่ละ5-10 กิโลกรัม หรือสูตร 21-0-0 ไร่ละ 10-20 กิโลกรัม การใส่ปุ๋ยในระยะนี้ ถ้าข้าวยังไม่แสดงอาการขาดปุ๋ยจะเป็นผลเสียเพราะจะทำให้ต้นข้าวเผื่อใบ เมื่อออกรวงจะได้รวงเล็ก เมล็ดต่อรวงน้อย
การใส่ปุ๋ยในระยะออกดอก ถ้าต้นข้าวไม่แสดงอาการขาดปุ๋ยรุนแรง
ไม่สมควรใส่เพราะจะทำให้เมล็ดข้าวสารขุ่นด้านไม่เหลื่อมมัน แต่ถ้าหากข้าวแสดงอาการขาดปุ๋ยรุนแรง ได้แก่ ใบเขียวออกเหลือง ให้ใส่ยูเรีย หรือ 46-0-0 ประมาณ 3
5 กิโลกรัมต่อไร่
หลังจากข้าวออกดอกแล้ว ประมาณ 20 วัน ควรระบายน้ำออกจากแปลงนา จะทำให้ต้นข้าวแก่อย่างสม่ำเสมอ และเมื่อข้าวอายุ 25-35 วัน หลังจากออกดอก ทำการเก็บเกี่ยวทันที่ทำให้ได้ปริมาณข้าวเปลือกที่มีคุณภาพดีและผลผลิตสูง

แหล่งกำเนิดข้าวหอมมะลิ
ข้าวหอมมะลิ นับเป็นข้าวที่มีชื่อเสียงระดับโลกประเทศไทยผลิตข้าวหอมมะลิและส่งออกมาเป็นเวลาหลายปีมาแล้วโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิส่วนใหญ่ที่ปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นข้าวหอมมะลิ คือ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ และ ๑๕ เท่านั้น
ในปี พ.ศ ๒๔๙๓
๒๔๙๔ *นายสุนทร สีหะเนิน อดีตพนักงานข้าว ฯ ของกรมการข้าวฯ ในสมัยขณะนั้น โดยประจำอยู่ที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับมอบหมายให้ออกไปเก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวในภาคตะวันออก ในอำเภอบางคล้า ด้วยการคัดเก็บเอารวงข้าวจำนวน ๑๙๙ รวง ซึ่งเป็นข้าวที่มีความหอมและเรียกกันว่า ข้าวหอมมะลิ ทั้งหมดถูกเก็บและได้ระบุหมายเลขของรวงที่เก็บมาได้ตามลำดับ
จากนั้น จึงส่งไปปลูกเพื่อคัดพันธุ์ให้บริสุทธิ์ ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรงจังหวัดลพบุรี และต่อมาในปี ๒๕๐๐ พันธุ์ข้าวหอมมะลิที่ผ่านการคัดเป็นพันธุ์บริสุทิ์แล้วถูกนำไปปลูกทดลองและทดสอบในพื้นที่ปลูกข้าวภาคต่างๆ พบว่า ในภาคอีสาน ข้าวหอมมะลิ ที่เป็นรวงหมายเลขที่ ๑๐๕ (หนึ่งร้อยห้า) เป็นรวงที่ให้ผลผลิตดีในพื้นที่ดินทรายโดยเฉพาะในภาคอีสาน จะเป็นเมล็ดข้าวเรียวยาว สมบูรณ์และความหอมของข้าวยังคงเหมือนข้าวที่ปลูกจากแหล่งเก็บเหมือนเดิม
ในปีพ.ศ.๒๕๐๒ ข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ ๑๐๕ นี้ ได้รับรองให้เป็นข้าวหอมพันธุ์ที่มีชื่อขาวดอกมะลิ ๑๐๕ * เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๒
โดยเริ่มแรกให้ชื่อว่า ขาวดอกมะลิ ๔-๒
๑๐๕ [ ในยุคสมัยนั้น ]
ในเชิงสัญญลักษณ์ ก็มีความหมาย คือ ว่า
……

หมายเลข ๔ หมายถึงอำเภอที่เก็บมา อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และ
หมายเลข ๒ หมายถึง ชื่อพันธุ์ข้าวที่เก็บในอำเภอนั้น คือ หอมมะลิ และ หมายเลข ๑๐๕ ก็คือ
….
ตำแหน่งรวงข้าวของพันธุ์หอมมะลิที่เก็บในที่นั้น ซึ่งเป็นรวงหมายเลขที่ ๑๐๕ (หนึ่งร้อยห้า) คือ หอมมะลิ ซึ่งมีที่มาจากความขาวของเมล็ดข้าว และความหอมที่คนไทยมักจะนำไปเปรียบเทียบกับดอกไม้ไทยในขณะนั้น
โดยคนไทยจะใช้ดอกมะลิที่มีสีขาวสำหรับบูชาพระ เป็นสิ่งมงคลและความประทับใจคล้าย ๆ กัน
จากความหมายในเชิงสัญญลักษณ์ดังกล่าวนี้ จึงมีผู้นำมาใช้เป็นชื่อพันธุ์ข้าวหอมของไทย เหตุผลที่ข้าวพันธุ์นี้ได้ถูกนำไปขยายผล เพราะเป็นข้าวที่มีความโดดเด่น ในรูปลักษณ์และรสชาติ ซึ่งเป็นผลดีทั้งในด้านความหอมและความนุ่มของรสชาติจนได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดเรื่อยมา
จากคำบอกเล่าถึงแหล่งข่าวได้มา ว่ากันว่า ข้าวขาวดอกมะลิ ๑๐๕ ได้ทำการเพาะปลูกอยู่ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี เป็นเวลานานหลายปี แต่เมื่อถูกนำมาปลูกในภาคอีสานใต้ ได้แก่ จังหวัด บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร และมหาสารคาม และจังหวัดอื่นๆ อีกหลายจังหวัดในภาคอีสาน
ต่อมา ภาครัฐจึงให้การสนับสนุนให้ปลูกเป็นแปลงสาธิตขนาดใหญ่ มีการประชาสัมพันธุ์และโน้มน้าว พี่น้องชาวอีสาน จนกลายเป็นข้าวหอมมะลิที่ขยายผลได้ในกลุ่มผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศตลอดเรื่อยมา จึงเป็นที่รู้จักและเนที่นิยมเพาะปลูกกันไปทั่วในพื้นที่ภาคอีสาน [ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ]
ทั้งนี้ จากข้อมูลการสำรวจทางธรณีวิทยา ในการปลูกเชิงการเกษตรเป็นเวลานาน ทำให้รู้ว่า ว่า ภาคอีสานเป็นพื้นที่ที่ได้รับมรดกจากธรรมชาติมาน้อยมากเพราะพื้นที่นี้เป็นดินทราย อินทรียวัตถุต่ำ บางแห่งจะมีดินจะมีความเค็มเป็นพิเศษ สังเกตได้จากร่องรอยเกลือสีขาวที่ปรากฏอยู่ทั่วไป จึงเป็นพื้นที่เหมาะแก่การปลูกข้าวขาวดอกมะลิ เป็นอย่างยิ่ง กว่าภาคใดๆ ของประเทศ






ข้าวโอ๊ต
ข้าวโอ๊ตเป็นธัญพืชชนิดหนึ่ง ใช้เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์
ข้าวโอ๊ตมีเส้นใยชนิดละลายน้ำ (
soluble fibers) สูงมากเป็นพิเศษ ทำให้กินแล้วอิ่มนาน แถมยังช่วยดูดซับโคเลสเตอรอล (ขับถ่ายออกพร้อมอุจจาระ) ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลโดยรวมลดลงได้ดี



ข้าวโอ้ต….กับสุขภาพ

เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายว่า อาหารที่มีปริมาณเส้นใยสูง มีประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ คนที่กินอาหารที่มีเส้นใยสูงเป็นประจำ จะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคระบบทางเดินอาหาร กระทั่งโรคมะเร็งลดลง เพราะเส้นใย อาหาร เข้าไปเป็นตัวขับเคลื่อน ให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะลำไส้เราทำงานได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดอาการ ท้องผูก
ดร.โจเซฟ คีแนน แห่งมหาวิทยาลัยมินิโซต้า ทำการวิจัยเกี่ยวกับผลของใยอาหารที่ละลายน้ำได้ มีความเกี่ยวพันกับโรคหัวใจว่า
ธัญพืชเป็นแหล่งของใยอาหารที่ดีที่สุด และมีส่วนช่วยในการลดความ เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย (หัวใจวาย) ซึ่งใยอาหารที่ละลายน้ำได้นั้น มีประสิทธิภาพในการ ช่วยลดโคเลสเตอรอล แหล่งอาหารที่มีใยอาหารที่ละลายน้ำ ได้แก่ ข้าวโอ้ต ข้าวบาร์เลย์ ผลไม้ที่มีเปคินสูง ถั่วเมล็ดแห้ง และเม็ดแมงลักและถ้าจะพูดถึง ข้าวโอ้ต ก็เป็นอาหารที่มีความน่าสนใจ ต่อสุขภาพอย่างมากชนิดหนึ่ง เลยทีเดียว เพราะมีการวิจัยเรื่องข้าวโอ้ตโดยเฉพาะ และพบว่าข้าวโอ้ตมีประสิทธิภาพในการลด โคเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งเป็นโคเลสเตอรอลที่มีความหนาแน่นต่ำ (LDL,Low-density lipoproteins)
ข้าวโอ้ตช่วยลดโคเลสเตอรอล

โคเลสเตอรอลจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของกรดน้ำดีในตับ ซึ่งจะถูกลำเลียงไปยังลำไส้เล็ก เพื่อช่วยในการย่อยไขมัน เมื่อคุณทานข้าวโอ้ตเข้าไป ใยอาหารส่วนที่ละลายน้ำได้ จะทำให้เกิดเป็นวุ้น ไปล้อมกรดน้ำดีในลำไส้เล็ก เมื่อกรดน้ำดีถูกล้อม ด้วยใยอาหารส่วนที่ละลายน้ำได้เหล่านี้ ก็จะไม่ สามารถถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กอีกได้ และถูกขับออกทางอุจจาระ ขณะเดียวกันตับก็จะดึง โคเลสเตอรอล ในกระแสเลือดมาใช้เพื่อ สร้างกรดน้ำดีใหม่ ดังนั้นจึงเป็นผลให้ระดับโคเสลเตอรอลลดลง
จากงานวิจัย 2 ชิ้นที่ตีพิมพ์ใน
Journal of the American Medical Association แนะนำว่าปริมาณข้าวโอ้ตที่ควรกินแล้ว ได้ประโยชน์กับสุขภาพ คือ ข้าวโอ้ตสุก 1 1/2 ถ้วย ต่อวัน (เท่ากับปริมาณข้าวโอ้ตดิบ 3/4 ถ้วย) หากกินข้าวโอ้ตตามปริมาณที่แนะนำนี้ ร่วมกับการลดปริมาณ การกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ในแต่ละวัน ก็จะทำให้การลดปริมาณโคเลสเตอรอลได้ผลยิ่งขึ้น
ข้าวโอ้ตช่วยลดระดับความดันโลหิต

การรับประทานอาหารที่มีโซเดียมหรือเกลือต่ำ อาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความดัน โลหิตสูงได้ ซึ่งข้าวโอ้ตเป็นอาหารที่ไม่มีโซเดียมอยู่เลย ดร.โจเซฟ และคณะ ทำการศึกษาเบื้องต้นใน ผู้ป่วยจำนวน 20 คน ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ที่ไม่เข้ารับการรักษาใดๆ เลย แต่หันมากินข้าวโอ้ต เป็นประจำทุกวัน ผลปรากฏว่า อัตราความดันขณะหลอดเลือดหดตัว(
systolic pressure) ลดลง 8 มิลลิเมตรปรอท และอัตราความดันขณะหลอดเลือดขยายตัว(diastolic pressure)
ลดลง 3 มิลลิเมตรปรอท ส่วนรายละเอียดที่ศึกษาลึกกว่านี้ยังดำเนินไปเพื่อหาข้อสรุปที่แท้จริงและเชื่อถือ ได้ต่อไป
ข้าวโอ้ต ช่วยในเรื่องความไวต่ออินซูลิน
นอกจากจะศึกษาว่าใยอาหารที่ละลายน้ำได้ในข้าวโอ้ตมีผล ต่อการการลดระดับโคเลสเตอรอลและความดันแล้ว ก็ยังมี การศึกษา รวมไปถึงเรื่องความไวต่ออินซูลินด้วย โดยพบว่า ข้าวโอ้ต สามารถเพิ่มความไวต่ออินซูลินได้ จากการศึกษาผู้ป่วยความดัน โลหิตสูง 20 คน ของดร.โจเซฟ สรุปผลว่าอาหารที่มีใยอาหาร ที่ละลายน้ำได้ จะช่วยให้เกิดการดูดซึม น้ำตาลกลูโคสจากลำไส้ ช้าลง ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร ลดลงเป็นผลให้ร่างกายใช้อินซูลินน้อยลงไปด้วย
นอกจากนี้ยังพบว่าคนที่กินข้าวโอ้ตจะรู้สึกอิ่มนาน เพราะรำข้าวโอ้ต และใยอาหารที่ละลายน้ำได้ ในข้าวโอ้ต จะดูดซึมน้ำไว้ในปริมาณมาก ซึ่งจะทำให้กระบวนการย่อยอาหารเป็นไปอย่างช้าๆ จนทำให้ รู้สึกอิ่มได้นาน นับว่าน่าจะเป็นอาหารของผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก เพราะช่วยลดความหิวหรือ ความอยากกินบ่อยครั้งลงได้
ผลิตภัณฑ์ของข้าวโอ้ต

ถ้าคุณไม่ได้ใช้ซีเรียลสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมหลักเป็นข้าวโอ้ต คุณก็อาจเลือกซื้อข้าวโอ้ตเปล่าๆ มาปรุงส่วนผสมได้สารพัดวิธีให้อร่อยอย่างง่ายๆ เช่นกัน ในกรณีที่คุณเลือกกินข้าวโอ้ตดิบควรทำให้ สุกก่อนด้วยวิธีที่คุณถนัด (ถ้าใส่ไมโครเวฟ อย่าใส่น้ำเยอะเพราะเมื่อข้าวโอ้ตร้อนจัดจะฟองล้นชามได้)
- เพิ่มรสชาติข้าวโอ้ต โดยเติมนมพร่องไขมัน น้ำตาล โกโก้
- ใส่ผลไม้ / ธัญพืช เช่น ลูกเกด กล้วยหอม แอปเปิ้ล ถั่วอัลมอนด์ จมูกข้าวสาลี
- คุกกี้ข้าวโอ้ต จะทำหรือซื้อไว้รับประทานเป็นประจำก็จะดีต่อ สุขภาพเช่นกัน
- ถ้าคุณชอบปรุงอาหารลองประยุกต์สูตรจากโจ้กหมูสับ เป็น ข้าวโอ้ตหมูสับรับรองอร่อย ได้อีกแบบ
- ประยุกต์เป็นข้าวโอ้ตตุ๋นผัก โดยต้มผักกระหล่ำปลีหั่นฝอย หรือ เลือกใช้ผักกาดขาว ต้มในน้ำต้มกระดุกจนผักสุกนุ่มใส แล้วเติม ข้าวโอ้ตลงไปคนจนสุก เป็นสูตรพิเศษที่ไม่มีใคร

ข้าวโอต เป็นข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี เพียงกะเทาะเปลือกนอกออก แล้วทุบจนเมล็ดข้าวแบน จากนั้นนำไปอบจนกรอบและมีกลิ่นหอม ดังนั้นข้าวโอตจึงมีสารอาหารธรรมชาติอยู่อย่างสมบูรณ์โดยเฉพาะวิตามินชนิดต่างๆ ทั้งวิตามินบี 1 บี 2 บี 5 บี 6 และวิตามินอี ส่วนแร่ธาตุที่มีมากคือแคลเซียม ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม เหล็ก แมงกานีส ซีลีเนียม มีเส้นใยสูงปราศจากคอเลสเตอรอล
ลักษณะทั่วไปข้าวโอต ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ทั้งคอเลสเตอรอลรวมและคอเลสเตอรอลร้าย (LDL) ลดความดันโลหิต ในข้าวโอตมีเส้นใยชนิดละลายน้ำ ทำให้ร่างกายดูดซับคาร์โบไฮเดรตได้ช้า มีผลช่วยควบคุมการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดให้ขึ้น-ลงช้า จึงเป็นผลดีต่อผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน นอกจากนั้นข้าวโอตยังช่วยกระตุ้นระบบประสาท เมื่อรับประทานข้าวโอตจะรู้สึกมีแรง กระปรี้กระเปร่า
ข้าวโอตมีขายหลายชนิด มีแบบกะเทาะเปลือกแล้วทุบแบน อบให้กรอบ (
oat snack) บรรจุถุง และบรรจุขวด ราคาไม่แพง รับประทานเป็นของขบเคี้ยวก็อร่อย ใส่เป็นส่วนผสมในเค้ก คุกกี้ ใส่ในเครื่องดื่มร้อน เช่น นมสด น้ำเต้าหู้ หรือทำเป็นซุป โจ๊ก ใส่รวมกับข้าวต้มข้าวกล้องก็อร่อย แต่ต้องใส่เป็นอันดับสุดท้ายจึงจะไม่เละ อีกชนิดคือข้าวโอตสุกเร็ว (oatmeal) เป็นข้าวโอตทุบแบนจนเป็นชิ้นเล็ก ต้มจนสุกก่อนนำไปอบกรอบ ทำเป็นอาหารเช้าโดยผสมกับนม น้ำอุ่น หรือทำเป็นมูสรี่ รำข้าวโพด (oat bran) มีลักษณะเป็นชิ้นเล็กๆ นิยมนำมาใส่เป็นส่วนผสมของขนมอบ เช่น มัฟฟิน เค้ก
ข้าวโอต ควรเลือกซื้อมาในปริมาณที่พอใช้ในแต่ละครั้งเท่านั้น เพราะถ้าเก็บไว้นานกลิ่นจะไม่หอม ถ้าเก็บไม่ดีก็จะเหม็นหืน ในกรณีที่ซื้อมาเป็นกระป๋องหรือถุงเล็ก แล้วรับประทานไม่หมดในครั้งเดียวให้เก็บใส่กล่องที่มีฝาปิดสนิท อากาศเข้าไม่ได้ แต่ไม่ควรเก็บนานเป็นเดือนเพราะจะเหม็นหืน
การรับประทานข้าวโอตเพื่อให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า ควรรับประทานวันละ 15 กรัม จะทำให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า หากรับประทานวันละ 50 กรัมขึ้นไป จะช่วยลดคอเลสเตอรอลได้

วิธีการปลูก
การเก็บเกี่ยวข้าวโอ๊ต
อัตราผลตอบแทนสูงสุดที่ได้จากการ
swathing เมื่อความชื้นเมล็ดประมาณร้อยละ 35 อัตราผลตอบแทนสูงสุดที่ได้จากการ swathing เมื่อความชื้นเมล็ดประมาณร้อยละ 35 เมล็ดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงจากสีเขียวเป็นสีครีม เมล็ดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในขั้นตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงจากสีเขียวเป็นครีมสีเพื่อให้ได้ผลการเรียนการสีสูงสุดเปลือกสีเขียวไม่ควรเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างข้าวโอ๊ต เพื่อให้ได้ผลการเรียนการสีสูงสุดเปลือกสีเขียวไม่ควรเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างข้าวโอ๊ต
การเก็บรักษาการเก็บข้าวโอ๊ตที่มีระดับความชื้นร้อยละ 12 หรือน้อยกว่าจะเก็บได้อย่างถูกต้อง ข้าวโอ๊ตที่มีระดับความชื้นร้อยละ 12 หรือน้อยกว่าจะเก็บได้ต้องอย่างถูกหากความชื้นสูงกว่าร้อยละ 12 ก็ควรจะแห้งและอากาศ / หรือถังเพื่อป้องกันการพัฒนาให้ความร้อนและรา หากความชื้นสูงละกว่าร้อย 12 ก็ควรจะแห้งและอากาศ / หรือถังเพื่อป้องกันการพัฒนาให้ความร้อนและรา
ปุ๋ยที่ต้องการ

สำหรับคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงของคุณมีการทดสอบดิน สำหรับคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงของคุณมีดินการทดสอบหากวิเคราะห์ดินจะไม่สามารถใช้
, ข้อเสนอแนะทั่วไปดังต่อไปนี้หากวิเคราะห์ดินจะไม่สามารถใช้, ข้อเสนอแนะทั่วไปมีดังนี้
ไนโตรเจน (
N) : ไนโตรเจน (N) :

สมัคร 0-30 ปอนด์ / เอเคอร์
N ต่อไปนี้ไม่ได้เพาะปลูกหรือทำลายตระกูลถั่ว, 30-55 ปอนด์ / เอเคอร์หญ้าต่อไปนี้และทำลายหญ้าตระกูลถั่วและ 55-90 ปอนด์ / เอเคอร์ N ต่อไปนี้ซัง สมัคร 0-30 ปอนด์ / เอเคอร์ N ต่อไปนี้ไม่ได้เพาะปลูกหรือทำลายตระกูลถั่ว, 30-55 ปอนด์ / เอเคอร์หญ้าต่อไปนี้และทำลายหญ้าตระกูลถั่วและ 55-90 ปอนด์ / เอเคอร์ N ต่อไปนี้ซังไนโตรเจนหลัก อาการขาดเป็นใบเหลืองที่เริ่มต้นด้วยใบเก่า ไนโตรเจนอาการขาดธาตุหลักเป็นใบเหลืองที่เริ่มต้นด้วยใบเก่า
ฟอสเฟต (
P 2 O 5) : ฟอสเฟต (P 2 O 5) :

สมัครฟอสเฟตที่ 30-40 ปอนด์ / เอเคอร์ สมัครฟอสเฟตที่ 30-40 ปอนด์ / เอเคอร์ฟอสฟอรัสอาการขาดเป็นหลัก
purpling ใบ / สีน้ำตาลเริ่มต้นที่เคล็ดลับของใบบนต้นกล้าที่มีอายุมากกว่า ฟอสฟอรัสอาการขาดเป็นหลัก purpling ใบ / สีน้ำตาลเริ่มต้นที่เคล็ดลับของใบบนต้นกล้าที่มีอายุมากกว่าPotassium (K 2 O) : Potassium (K 2 O) :
ดินทรายบนพื้นผิวหรืออินทรีย์ใช้โพแทสเซียมที่ 15-30 ปอนด์ / โปแตชเอเคอร์ (
K2O) ในแถบหรือ 30-60 ปอนด์ / ออกอากาศ AC ดินทรายบนพื้นผิวหรืออินทรีย์ใช้โพแทสเซียมที่ 15-30 ปอนด์ / โปแตชเอเคอร์ (K2O) ในแถบหรือ 30-60 ปอนด์ / ออกอากาศ AC ที่ต้องการโปตัสเซีควรอยู่ด้วยเมล็ด ในกรณีที่ต้องมีโปตัสเซีควรอยู่ด้วยอาการขาดเมล็ดเป็นการยากที่จะตรวจสอบ แต่รวมถึง internodes สั้นและลำต้นอ่อน อาการขาดเป็นการยากที่จะตรวจสอบ แต่รวมถึง internodes สั้นและลำต้นอ่อน
ซัลเฟอร์ (
S) : ซัลเฟอร์ (S) :

สมัครกำมะถันซัลเฟตที่ 15 ปอนด์ / เอเคอร์บนดินระบายน้ำดี สมัครกำมะถันซัลเฟตที่ 15 ปอนด์ / เอเคอร์บนดินระบายน้ำดีขาดธาตุกำมะถันอาจเกิดขึ้นในดินจำนวนมากและในพื้นที่จังหวัดใด ขาดธาตุกำมะถันอาจเกิดขึ้นในดินจำนวนมากและในพื้นที่จังหวัดใดทดสอบดินขอแนะนำให้สร้างสถานะกำมะถันใช้ได้ของเขตข้อมูล การทดสอบดินขอแนะนำให้สร้างสถานะกำมะถันใช้ได้ของเขตข้อมูล

แหล่งกำเนิด
ต้นข้าวโอ๊ต มีแหล่งกำเนิดในแถบอบอุ่น บริเวณเอเชียไมเนอร์ แต่ก็เติบโตได้ดีในเขตยุโรปเหนือ ปัจจุบันประเทศที่ปลูกข้าวโอ๊ตมากที่สุด ได้แก่ รัสเซีย แคนาดา อเมริกา โปแลนด์ ฟินแลนด์ ออสเตรเลีย เยอรมนี จีน และยูเครน เป็นธัญพืชประจำชาติของชาวตะวันตก และเป็นอาหารของปศุสัตว์ ทั้งวัว ควาย และม้า กินข้าวโอ๊ตด้วย หรือผสมทำอาหารเม็ด ฟางข้าวโอ๊ตใช้ทำเตียงนอนหรือรองที่นอนของเหล่าม้า วัว ควาย พวกมันนอนหลับสบายดีบนฟางข้าวโอ๊ต เนื่องจากมีกลิ่นดิน กลิ่นธรรมชาติ คงไม่รู้สึกแปลกปลอม
ข้าวโอ๊ตจึงเป็นอาหาร เป็นต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตทั่วโลก แต่คนกับวัวควายก็ไม่แย่งกันกิน เพราะสูตรใครก็สูตรมัน

จากการศึกษาวิจัยเรื่องสารอาหารในข้าวโอ๊ต ที่เริ่มเปิดประเด็นเมื่อปลายทศวรรษ 1980 พบว่า ข้าวโอ๊ตมีสารอาหารและเส้นใย ที่ช่วยป้องกันโรคภัยหลายชนิด เคยมีผู้ผลิตมันฝรั่งแผ่นทอดหรือโปเตโต ชิพ ผสมข้าวโอ๊ตลงไป ปรากฏว่าขายดิบขายดี จากรายงานการศึกษาของนักโภชนาการที่ออกมาบอกว่า กินข้าวโอ๊ตทุกวัน ลดไขมันชนิดเลวและคอเลสเตอรอล ลดอัตราเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด อันว่าโรคเหล่านี้คนอเมริกันเป็นกันมาก ดังนั้น เมื่อมีประกาศรณรงค์ให้ช่วย ๆ กันกินข้าวโอ๊ต ใคร ๆ ก็เลยหาข้าวโอ๊ตใส่ลงไปในอาหาร
เมื่อนักโภชนาการควานหาคุณสมบัติอันเลอเลิศของข้าวโอ๊ตเจอ ก็เลยชวนให้ทุกคนกินข้าวโอ๊ต โดยคุณสมบัติขั้นเทพของข้าวโอ๊ตคือ เส้นใย หรือไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ เป็นธัญพืชที่มีกากใยสูง แคลอรีต่ำ กากใยนี้เมื่อกินเข้าไปจะทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำ ช่วยซึมซับน้ำเมื่ออาหารตกผ่านลงไปในท้อง ช่วยให้รู้สึกอิ่มเร็ว เมื่อเริ่มต้นกระบวนการย่อยในลำไส้ ข้าวโอ๊ตจะช่วยในการดูดซึมอาหาร กากใยที่มีจะก่อตัวเป็นเจล แล้วค่อย ๆ ซึมซับคาร์โบไฮเดรต รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ และมีโปรตีนช่วยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงาน โปรตีนในข้าวโอ๊ตมีค่าใกล้เคียงกับโปรตีนในถั่วเหลือง และไม่น้อยไปกว่าเนื้อ นม ไข่ จัดเป็นธัญพืชที่มีโปรตีนมากที่สุด กินข้าวโอ๊ตจึงให้คุณค่า ไม่อ้วน อิ่มเร็ว และปล่อยให้กากใยทำหน้าที่ที่ดีต่อร่างกาย
ในอเมริกา ที่รณรงค์ให้กินข้าวโอ๊ตระบุว่า ถ้ากินข้าวโอ๊ตให้ได้ไฟเบอร์ 3 กรัมต่อวัน จะช่วยลดไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอล ลดอัตราเสี่ยงโรคหัวใจ แต่ควรกินอย่างน้อย 0.75 กรัม ต่อการกิน 1 ครั้ง ถ้าไม่รู้ว่าควรกินปริมาณเท่าใด ก็ลองคิดเองว่า ในข้าวโอ๊ต 100 กรัม (3.5 ออนซ์) ให้พลังงาน 390 กิโลแคลอรี (1
,630 กิโลจูล) คาร์โบไฮเดรต 66 กรัม ไขมัน 7 กรัม โปรตีน 17 กรัม วิตามินบี 5 1.3 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 5 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 177 มิลลิกรัม และตัวสำคัญไฟเบอร์ชนิดไม่ละลายน้ำ 4 กรัม นับว่ามีมากอยู่ เพราะฉะนั้นเมื่อจะกินอาหารเช้าด้วยนมหรือน้ำเต้าหู้ เติมข้าวโอ๊ตบดหรือหยาบลงไปไม่ผิดกติกา หรือจะมีวิธีกินข้าวโอ๊ตด้วยวิธีอื่น ก็มีเมนูสารพันข้าวโอ๊ตมากมาย
ข้าวโอ๊ตยังเป็นแขกรับเชิญในผลิตภัณฑ์ถนอมผิว สบู่ข้าวโอ๊ตก็ทำกันมานานแล้ว ตอนนี้มีโลชั่นผสมสารสกัดข้าวโอ๊ต มีครีมบำรุงผิว สครับ เพราะนอกจากคุณค่าสารอาหารมากมายแล้ว ในข้าวโอ๊ตยังมีวิตามินอี เป็นกลีเซอรีนธรรมชาติ ที่ช่วยให้ผิวชุ่มชื้น สูตรสครับผิวในสปานิยมผสมข้าวโอ๊ต ขัดผิวแล้วผิวผ่องเป็นนวลใย หรือจะทำสครับผิวด้วยข้าวโอ๊ตด้วยตัวเองก็ได้ ข้าวโอ๊ตหรือโอ๊ตมีลที่เหลือกินก็ทำได้ ผสมน้ำผึ้งก็ได้ ผสมน้ำมันหรือนม ทาหรือสครับผิว นับว่าเป็นสปาที่บ้านแบบไม่เปลืองเงิน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น